Monday, April 19, 2010
เรียนรู้เรื่องเวลาผ่านกิจวัตรประจำวันที่เป็น เวลา
คุณแม่สามารถสอนลูกให้เรียนรู้เรื่อง เวลาได้ง่ายๆ โดยการใช้กิจวัตรประจำวันของลูก อาทิ เข้านอน ตื่นนอน รับประทานอาหาร ฯลฯ ตั้งแต่เช้า สาย บ่าย เย็น มาปรับสอนให้ลูกเข้าใจความสำคัญของการทำอะไรให้เป็นเวลา ถ้าทำเป็นประจำทุกวันลูกจะค่อยๆ เข้าใจ โดยไม่ต้องพร่ำสอน เมื่อลองทำตามสมการข้างต้นแล้วล่ะก็ เราอาจได้เด็กที่มีระเบียบวินัยแถมมาอีกคนเลยด้วย
ความแตกต่างของเวลา
คุณ แม่อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างกลางวันกับกลางคืน โดยใช้ตัวอย่างง่ายๆ จากการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูก เช่น "ตอนกลางวันสว่างและร้อนกว่าตอนกลางคืน" "พระอาทิตย์จะขึ้นตอนกลางวัน ส่วนพระจันทร์ขึ้นตอนกลางคืน" "ตอนเช้าพ่อต้องไปทำงาน ถ้าเย็นแล้วพ่อก็จะกลับบ้าน" เป็นต้น ซึ่งเมื่อเด็กสามารถแยกแยะความต่างของกลางวันกับกลางคืนได้ ก็จะช่วยให้เด็กเข้าใจเรื่องเวลาและเชื่อมโยงกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
สอนเรื่อง เข็มนาฬิกา
นาฬิกาเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นตัว ช่วยให้ลูกเข้าใจเรื่องเวลาง่ายขึ้น เช่น "ลูกเข้านอนตอนเข็มสั้นชี้ตรงที่เลข 8 นะ" "ลูกอาบน้ำตอนนาฬิกาชี้ที่เลข 7 นะคะ จะได้ไปโรงเรียนทัน" "เข็มสั้นกับเข็มยาวชี้ไปที่เลข 12 แล้วได้เวลากินข้าวกลางวันแล้วล่ะ" นอกจากนี้ทุกครั้งที่จะเรียกหรือชวนให้ลูกทำอะไร คุณแม่ยังควรระบุเวลาพร้อมกับชี้ไปที่นาฬิกาทุกครั้ง เพื่อให้ลูกเคยชินกับการดูนาฬิกาค่ะ
รู้ลำดับก่อนหลัง
คุณ แม่ยังสามารถเชื่อมโยงลำดับเวลาของวันได้เพื่อให้ลูกเรียนรู้การลำดับ กิจกรรมที่ตัวเองทำก่อนหลัง เช่น "ลูกอาบน้ำแล้วแต่งตัว กินข้าว แล้วถึงได้ไปเล่นกับเพื่อนนะ" ที่สำคัญคือคุณแม่ต้องทำกิจวัตรให้เป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อที่ลูกจะได้จดจำภารกิจและเวลาของตัวเองได้
ข้อดี-เสีย ของเวลา
ชี้ ให้ลูกเห็นถึงความสำคัญของการตรงเวลา และย้ำถึงข้อดีการตื่นเช้าว่าจะทำให้มีเวลาทำสิ่งต่างๆ ได้มากมายในแต่ละวัน และไม่พลาดนัดสำคัญต่างๆ ด้วย "เจ้าสัตว์ตัวน้อยใหญ่ของป่าสายรุ้งตื่นแต่เช้าไปเก็บผลไม้ จึงได้ผลไม้ไว้เก็บกินกันมากมายตลอดทั้งวัน แต่เจ้ากระต่ายน้อยน่ะสิ ตื่นสายและชักช้าโอ้เอ้อยู่ กว่าจะไปเก็บผลไม้ก็ใกล้เที่ยงแล้ว เมื่อไปเก็บผลไม้ก็พบว่าผลไม้หมดแล้ว เจ้ากระต่ายจึงไม่มีอาหารกินในวันนั้น" แล้วบอกเด็กๆ ด้วยนะคะว่า นี่คือผลของการตื่นสาย และไม่รักษาเวลา ส่งผลให้เจ้ากระต่ายน้อยต้องทนหิวไม่มีอาหารกินเพราะตัวเองขี้เกียจนอนตื่น สายนั่นเอง
กำหนด เวลาให้แน่นอน
เราควรกำหนดเวลาในกิจกรรม ต่างๆ ให้แน่นอนด้วยค่ะ เช่น "เวลาเล่นของลูกคือ 2 ชั่วโมงก่อนกินข้าว เข็มยาวจะชี้จากเลข 7 ถึงเลข 9 นะคะ" บอกลูกให้ดูที่เข็มนาฬิกาตอนเริ่มเล่น พอถึงเวลาจริง คุณแม่ก็ควรเก็บของเล่นทันที ลูกจะได้เรียนรู้เรื่องเวลาไปพร้อมๆ กับรู้ว่าเวลาเล่นคือกี่โมง และเลิกเล่นกี่โมง เล่นเสร็จแล้วต้องไปทำอะไรต่อ เป็นการสร้างกติการ่วมกันในครอบครัวอีกด้วย
เวลา > นาฬิกาบอกเวลา
หากคุณพ่อคุณ แม่ละเลยหรือตามใจยอมให้เจ้าหนูตื่น กินข้าวหรือนอนไม่เป็นเวลา เป็นการบ่มเพาะนิสัยเรื่อยเปื่อย ไม่รักษาเวลา ทำตามใจตัวเอง ฝึกลูกทำกิจวัตรประจำวันของตัวเองให้เป็นเวลาจนเคยชิน จะทำให้ลูกรู้โดยอัตโนมัติว่า เวลานี้ควรทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นช่วงเปิดเทอม ปิดเทอม หรือวันหยุด ถือเป็นการปูพื้นฐานการสร้างวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเองด้วย ค่ะ
เรื่องเวลา ชวนสนุก
Let's play
มาประดิษฐ์นาฬิกาของเล่นกันเถอะ โดยใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่หาง่ายในบ้าน เช่นจานกระดาษ ตัดตัวเลขจากปฏิทินมาทำเป็นตัวเลข ให้คล้ายกับนาฬิกาที่แขวนอยู่บนฝาบ้าน ลูกๆ จะได้ลองหมุนเข็มนาฬิกาเล่นได้ แต่ถ้าทำไม่ไหว นาฬิกาที่เป็นของเล่นก็ยังพอมีวางขายอยู่นะคะ
Let's reading
นิทานช่วยให้ลูกเข้า ใจเรื่องเวลามากขึ้นค่ะ ลองเลือกนิทานที่ใช้สอนเรื่องของเวลามาเล่าให้ลูกฟังบ้าง ระหว่างเล่าคุณแม่ยังสามารถหมุนเข็มนาฬิกาให้ลูกเข้าใจมากขึ้น นอกจากนี้แล้วคุณแม่ยังสามารถแต่งนิทานขึ้นมาเองก็ได้ เจ้าหนูจะได้เรียนรู้เรื่องเวลาแล้วยังสนุกสนานกับกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกัน
Let's sing a song
ปัจจุบัน ยังมีเพลงสำหรับเด็ก ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเพราะๆ มากมายมาเปิดให้ลูกฟังก็ได้ เด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้ไปด้วยจากการฟัง หรือจะช่วยกันแต่งเพลงร้องกันเองภายในครอบครัวก็ได้ค่ะ
นอกจากความ รู้และความสนุกสนานที่เด็กๆ จะได้จาก "เวลา" แล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามก็คือการเป็นตัวอย่างของ การเห็น "ค่า" ของเวลาและความ "ตรงต่อเวลา" ที่เด็กจะซึมซับรับจากคุณไปอยู่ตลอดด้วยค่ะ
ขอบคุณ มัมมี่พีเดีย
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment