Friday, March 26, 2010

ขวบปีแรก วัยแห่งการเรียนรู้

ตั้งแต่ ลูกเริ่มเอื้อมมือคว้าได้ เดี๋ยวนี้เจออะไรเป็นต้องคว้าเข้าปากทุกที นี่แหละพัฒนาการขั้นสำคัญของหนู ที่พ่อกับแม่ต้องรู้และส่งเสริม

หยิบ เข้าปาก...เรื่องเรียนรู้ของวัยเบบี๋

ถ้าเห็นลูกวัย 6 เดือนที่เริ่มนั่งทรงตัวได้ดี แล้วเอื้อมคว้าของเข้าปาก...อย่าเพิ่งเข้าใจผิดคิดว่าลูกหิวเชียวนะคะ เพราะนั่นคือพัฒนาการในการเรียนรู้ ด้วยการสำรวจสิ่งใหม่ๆ รอบตัว

เพราะ เด็กขวบปีแรกเรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นชิมรส และมือสัมผัส ดังนั้นเรื่องหยิบของเข้าปากจึงแสดงถึงพัฒนาการของลูก คือ

* ประสานประสาทสัมผัสจาก 3 อวัยวะ คือ มือ ตา และปาก ด้วยการแยกแยะรายละเอียด กะระยะได้แม่นยำ และจับได้มั่นคงขึ้น

* การที่ลูกนั่งได้แล้ว จะทำให้ลูกมีมุมมองที่กว้างไกล เห็นสิ่งต่างๆ ได้หลากหลายขึ้นด้วย

* เมื่อเด็กเรียนรู้รสชาติและผิวสัมผัสได้มากขึ้น ก็จะค่อยๆ เรียนรู้ว่าสิ่งของแบบไหนที่สามารถเอาเข้าปากได้นั่นเอง

สมองคือจุดเชื่อมโยง

ขณะที่เด็กสำรวจสิ่งต่างๆ ด้วยการใช้มือ ตา ปาก นั้น สมองแต่ละส่วนก็ต้องทำงานไปพร้อมกันเพื่อชื่อมโยงอวัยวะดังนี้

* พาไรทัลโลบ (Parietal Lobe) จะควบคุมการใช้มือและตา

* เซลล์ประสาทประสานงาน (Associative Neuron) จะคอยทำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งกระแสประสาทจากเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง

* เท็มโพรัลโลบ (Temporal Lobe) และมอเตอร์คอเท็กซ์ (Motor Cortex) จะทำงานเป็นคู่หูกัน เมื่อลูกมีการเคลื่อนไหว

ยิ่ง เมื่อลูกหยิบจับสิ่งของบ่อยๆ สมองก็จะพัฒนาและทำงานได้ดีมากขึ้น ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และเก็บบันทึกจดจำไว้เป็นประสบการณ์ต่อไปในระยะยาวค่ะ

เมื่อเด็กใช้มือ ตา ปาก ทำงานประสานกันมากขึ้น เซลล์ประสาทประสานงาน (Associative Neuron) ซึ่งจะคอยทำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งกระแสประสาทจากเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง ก็ทำหน้าที่ควบคู่ไปด้วย

เรียนรู้ ด้วยมือ ตา และปาก

โดย: เกตน์สิรี

ตั้งแต่ลูกเริ่มเอื้อมมือคว้าได้ เดี๋ยวนี้เจออะไรเป็นต้องคว้าเข้าปากทุกที นี่แหละพัฒนาการขั้นสำคัญของหนู ที่พ่อกับแม่ต้องรู้และส่งเสริม

หยิบ เข้าปาก...เรื่องเรียนรู้ของวัยเบบี๋

ถ้าเห็นลูกวัย 6 เดือนที่เริ่มนั่งทรงตัวได้ดี แล้วเอื้อมคว้าของเข้าปาก...อย่าเพิ่งเข้าใจผิดคิดว่าลูกหิวเชียวนะคะ เพราะนั่นคือพัฒนาการในการเรียนรู้ ด้วยการสำรวจสิ่งใหม่ๆ รอบตัว

เพราะ เด็กขวบปีแรกเรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นชิมรส และมือสัมผัส ดังนั้นเรื่องหยิบของเข้าปากจึงแสดงถึงพัฒนาการของลูก คือ

* ประสานประสาทสัมผัสจาก 3 อวัยวะ คือ มือ ตา และปาก ด้วยการแยกแยะรายละเอียด กะระยะได้แม่นยำ และจับได้มั่นคงขึ้น

* การที่ลูกนั่งได้แล้ว จะทำให้ลูกมีมุมมองที่กว้างไกล เห็นสิ่งต่างๆ ได้หลากหลายขึ้นด้วย

* เมื่อเด็กเรียนรู้รสชาติและผิวสัมผัสได้มากขึ้น ก็จะค่อยๆ เรียนรู้ว่าสิ่งของแบบไหนที่สามารถเอาเข้าปากได้นั่นเอง

สมองคือจุดเชื่อมโยง

ขณะที่เด็กสำรวจสิ่งต่างๆ ด้วยการใช้มือ ตา ปาก นั้น สมองแต่ละส่วนก็ต้องทำงานไปพร้อมกันเพื่อชื่อมโยงอวัยวะดังนี้

* พาไรทัลโลบ (Parietal Lobe) จะควบคุมการใช้มือและตา

* เซลล์ประสาทประสานงาน (Associative Neuron) จะคอยทำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งกระแสประสาทจากเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง

* เท็มโพรัลโลบ (Temporal Lobe) และมอเตอร์คอเท็กซ์ (Motor Cortex) จะทำงานเป็นคู่หูกัน เมื่อลูกมีการเคลื่อนไหว

ยิ่ง เมื่อลูกหยิบจับสิ่งของบ่อยๆ สมองก็จะพัฒนาและทำงานได้ดีมากขึ้น ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และเก็บบันทึกจดจำไว้เป็นประสบการณ์ต่อไปในระยะยาวค่ะ

เมื่อเด็กใช้มือ ตา ปาก ทำงานประสานกันมากขึ้น เซลล์ประสาทประสานงาน (Associative Neuron) ซึ่งจะคอยทำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งกระแสประสาทจากเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง ก็ทำหน้าที่ควบคู่ไปด้วย

หนูเรียนรู้ด้วยมือ ตา ปาก

คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของลูก ด้วยมือ ตา ปาก ได้อย่างสนุกและปลอดภัยดังนี้ค่ะ

สนุก เรียนรู้

* มีเวลาเล่นกับลูกให้มากขึ้น และทุกครั้งที่เล่นควรปล่อยให้เขาได้หยิบจับของเล่นที่เขาสนใจด้วยตัวเอง

* ให้ลูกได้หยิบจับสิ่งของบ่อยๆ เพื่อฝึกความแม่นยำให้ลูกมากขึ้น

* หาของที่ให้ลูกสามารถหยิบจับได้ถนัดมือ เพื่อฝึกกำ คว้าจับ หรือเอาเข้าปากค่ะ

* ควรเลือกของเล่นที่มีความหลากหลาย ทั้งรูปทรง ขนาด และพื้นผิวสัมผัส เช่น ของเล่นนุ่มนิ่มบ้าง แข็งบ้าง จับแล้วรู้สึกเย็นหรืออุ่นแตกต่างกันไป ยิ่งมีเสียงหรือมีสีสดใส จะช่วยกระตุ้นความสนใจและสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายให้ลูกได้

* หยิบของเล่นให้ลูกมองตาม เพื่อคว้าจับ ช่วยให้การทำงานของมือและตาพัฒนามากขึ้น

* การยัดเยียดของเล่นให้ลูกอาจทำให้ลูกมีทัศนคติไม่ดีต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ ได้ เพราะเด็กบางคนอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ แต่ยังปรับตัวไม่ได้และไม่กล้า ควรให้เขาค่อยๆ ลองสัมผัส หรือสร้างความคุ้นเคยด้วยตัวเอง จะทำให้เขากล้าเล่นมากขึ้นค่ะ

* อาหารเสริมของลูกวัยนี้ เช่น finger food หรือขนมปังแท่ง จะช่วยฝึกการใช้มือ ตา และปากของลูกได้อีกทาง

สนุกปลอดภัย

* หมั่นทำความสะอาดของเล่นบ่อยๆ เพื่อให้ลูกหยิบจับและเอาเข้าปากได้อย่างปลอดภัยทุกครั้ง

* เลือกของเล่นหรือสิ่งของที่ปลอดภัย ไม่มีเหลี่ยมแหลมคม ชิ้นไม่เล็กหรือมีชิ้นส่วนที่หลุดง่าย เพราะอาจทำให้สำลักหรือติดคอได้

* สีของของเล่นต้องปลอดภัยสำหรับเด็ก

* วางสิ่งของที่เป็นอันตรายให้พ้นมือลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเอื้อมไปหยิบจับเอาเข้าปาก

* ถ้าเห็นว่าของในมือลูกอาจเป็นอันตราย อย่าเพิ่งตะโกนห้ามหรือแย่งสิ่งของออกจากมือลูกทันที เพราะจะส่งผลให้ลูกตกใจ ร้องไห้ และหมดความสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งนั้นไปเลยค่ะ ควรใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจ แล้วดึงของออกจะดีกว่าค่ะ

คุณ พ่อคุณแม่อย่ากังวลว่าลูกจะติดพฤติกรรมเอาของเข้าปาก เพราะนี่เป็นธรรมชาติของเด็กขวบปีแรก เมื่อเขาโตขึ้นการหยิบจับเอาของเข้าปากจะค่อยๆ ลดหายไป เพราะเขารู้จักเล่นสำรวจ และเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยวิธีอื่นๆ แทนค่ะ

ขอบคุณเว็บ มัมมี่มีเดีย คะ






Monday, March 22, 2010

คุณแม่ผ่อนคลาย

ในฐานะแม่ยุคใหม่ที่ต้องทำงานนอกบ้านไปด้วย รับภาระแม่บ้านผู้แสนดี ดูแลลูก ทำอาหาร มีบางครั้งทำหน้านิ่วขมวด เหนื่อยใจ อะไรก้อไม่ได้ดั่งใจ เหมือนที่เรากำลังเป็นอยู่ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องหาทางคลายเครียดให้ตัวเองบ้าง ลองใช้วิธีที่แนะนำดูสิคะ เผื่อจะดีขึ้นคะ


1. ฟังเพลง
คุณแม่เลือกฟังเพลงเบา ๆ โดยเฉพาะเพลงประเภท Meditation ที่มีเพียงเสียงดนตรีบรรเลงหรือเสียงธรรมชาติ อย่างเสียงคลื่น เสียงน้ำตก หรือเสียงนกร้อง จะช่วยเรียกสมาธิคืนสู่สมองและจิตใจภายในเวลาสั้น

2. อาบน้ำ
อาบน้ำด้วยเจลอาบ น้ำที่มีส่วนผสมของคาโบมายล์โดยอุณหภูมิของน้ำอุ่นกำลังดี น้ำอุ่นๆ จะช่วยให้ร่างกายที่เครียดและเหนื่อยล้าผ่อนคลาย และจะพิเศษยิ่งขึ้นก็ต่อเมื่อคุณแม่จดจ่อรู้ทุกขณะที่น้ำไหลผ่านตัว

3. เล่นโยคะ
โยคะท่าง่ายๆ เล่นแบบสบายๆ ในห้องนอนสัก 10- 30 นาทีหรือว่านานกว่านั้น ก่อนไปทำกิจกรรมอย่างอื่น จะช่วยให้คุณแม่ค่อยๆ ผ่อนคลายสบายตัวขึ้น

4. นอนสมาธิ
ก่อนลุกออกจาก ที่นอนตอนเช้า หรือหลังจากล้มตัวลงนอน คุณแม่ก็สามารถทำสมาธิได้ด้วยการนอนหงาย วางมือทั้งสองประสานไว้บนอก หลับตา หายใจเข้า-ออกลึกๆ 3 ครั้ง ถ้าจิตยังไม่สงบ ให้เพิ่มการนับเลขเข้าไปด้วยก็ได้

5. หามุมสงบส่วนตัว
หาเวลาสงบสักวันละ 5-10 นาที อยู่ในที่เงียบๆ อากาศดีๆ นั่งผ่อนคลายอารมณ์ ทำจิตใจให้ว่างเปล่า ปล่อยให้ใจล่องลอยไปเรื่อยๆ ทิ้งความกังวลและปัญหาต่างๆ ไปชั่วคราว หายใจเข้าออกช้าๆ จะช่วยเติมพลังความสดใสให้กลับมา

6. เขียนไดอารี่
เสมือนเปิด ประตูอารมณ์ปล่อยให้ความอัดอั้นตันใจต่างๆ ไหลลงสู่หน้ากระดาษ การถ่ายเทความรู้สึกในใจออกมา จะทำให้จิตใจปรับสมดุลได้เร็วขึ้น เพราะระหว่างเขียนไดอารี่เป็นการทบทวนความรู้สึกตัวเองที่ดีที่สุด

อาจจะเลือกช่วงเช้าก่อนเจ้าตัวเล็กตื่น หรือตอนกลางคืนหลังลูกหลับไปแล้วก็ได้ค่ะ เพียงวันละ 10-30 นาทีทุกวัน ก็จะช่วยผ่อนคลายความเครียด สร้างสมาธิ อีกทั้งยังช่วยปรับสมดุลชีวิตได้เป็นอย่างดี

Wednesday, March 17, 2010

Smart Kids

ตอนนี้ลูกสาวคนโตอยู่ในวัยอนุบาล ซึ่งต้องเข้าใจในความต้องการของเค้า มาช่วยกันนำพาเค้าไปสู่ความฉลาดและเก่งรอบด้านตามวัยกันเถอะคะ

1. Go smart with playing
การเล่น เป็นความต้องการของเด็กโดยธรรมชาติ เพราะการเล่นคือประสบการณ์ที่สนุกและท้าทาย ช่วยวางรากฐานการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีงานวิจัยพบว่าการเล่นช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองโดยตรงเพราะในขณะที่เด็ก เล่น สมองจะพัฒนาผ่านเกิดกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนี้การเล่นยังก่อให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ของเล่นเพียงชิ้นเดียวเด็กสามารถเปลี่ยนรูปแบบการเล่นมากมาย และการเล่นซ้ำๆ จะทำให้เขารู้จักกับสิ่งนั้นๆ มากขึ้น จนสั่งสมเป็นความชอบนำไปสู่แรงบันดาลใจได้
How to play : ห้องเรียนในร่มและกลางแจ้งคือโลก การเล่นที่สนุกและได้ประโยชน์มหาศาล
* ตามหาสมบัติ โดยคุณพ่อคุณแม่นำของเล่นไปซ่อนไว้ในสวนหลังบ้าน แล้วเขียนแผนที่ให้คุณลูกๆ สวมบทบาทนักผจญภัยช่วยกันตามหาสมบัติ
* การเล่นเกิดขึ้นด้วยงานศิลปะ เริ่มจากช่วยกันเก็บกิ่งไม้ที่สวน ออกแบบหน้ากากบนกระดาษ แล้วนำใบไม้หรือกิ่งไม้มาติดตกแต่ง
2. Go Smart with Imagination
จินตนาการ คือกระบวนการการสร้างภาพในสมอง เป็นทักษะเบื้องต้นของความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการจะช่วยทำให้เขามั่นใจในตัวเอง กล้าคิด และมีทักษะการคิดที่ดี สามารถแก้ปัญหาได้ เช่น เด็กๆ มักสร้างเพื่อนในจินตนาการขึ้นมาคอยปกป้องเขาเวลาที่เกิดความกลัว หรือเป็นเพื่อนเล่นยามเหงา
How to Imagine : สร้างบรรยากาศที่กระตุ้นให้เกิดจินตนาการ

* เกมทายส่งของในความมืด วิธีเล่นนำผ้าปิดตาเด็กๆ เติมความตื่นเต้นด้วยเสียงเพลงเบาๆ นำสิ่งของมาให้เขาสัมผัสและทายว่าสิ่งนั้นคืออะไร ฝึกจินตนาการ กระตุ้นประสาทสัมผัส
* เตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลายให้เขาเล่นสมมติตามจินตนาการ เช่น หน้ากากต่างๆ ถุงมือรูปสัตว์ แว่นขยาย
* การอ่านหนังสือหรือนิทาน คือ เครื่องมือชั้นเยี่ยมให้เด็กๆ เกิดจินตนาการไม่รู้จบ
3. Go Smart with Creativity
ความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดที่เชื่อมโยงจากจินตนาการนอกเหนือจากกรอบที่วางเอาไว้ เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าได้รับการเลี้ยงดูส่งเสริมอย่างไร และจังหวะที่ดีในการกระตุ้นเด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์คือช่วงปฐมวัยเพราะวัย นี้จะเริ่มมีความคิดเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เด็กที่ได้รับการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์จะเป็นคนกระตือรือร้นสนใจสิ่ง ต่างๆ และแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลาย
How to Creative : การให้อิสระทางความคิดแก่เขา ให้เขาพูดและทำในสิ่งที่เขาคิด และสร้างบรรยากาศให้เขาใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่
* เนรมิตพื้นที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน หรืออุปกรณ์ศิลปะ กระดาษแผ่นยักษ์ สีน้ำ
* กิจกรรม Cooking ให้เขาคิดเมนูอาหาร หรือเลือกวัตถุดิบด้วยตัวเอง แล้วตกแต่งหน้าตาให้สวยงาม
* การตั้งคำถามให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น ตั้งข้อสมมติ และค้นหาคำตอบ ที่สำคัญคุณควรเรียนรู้ไปพร้อมกันกับลูกค่ะ เพื่อให้รู้ว่าสิ่งไหนที่ลูกสนใจ และคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริม
4. Go Smart with Inspiration
ความใฝ่ฝันของเด็กๆ เริ่มต้นจากแรงบันดาลใจที่อยู่ภายใน จะเห็นได้ว่าบุคคลที่ประสบความสำเร็จล้วนมีแรงผลักมาจากแรงบันดาลใจทั้งสิ้น เช่น ไอน์สไตน์ที่ได้ของขวัญเป็นเข็มทิศจากพ่อ ทำให้เขาสงสัยว่าทำไมเข็มทิศชี้จึงไปทางทิศเหนือตลอดเวลา นี่เป็นแรงบันดาลใจให้ไอน์สไตน์หาคำตอบจนสำเร็จ
How to Inspire : จะดีแค่ไหนคะ ถ้าคุณจะเริ่มเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้เจ้าตัวเล็กตั้งแต่วันนี้
* มองหาสิ่งที่ลูกชอบแล้วส่งเสริมให้ถูกทางค่ะ เช่น ลูกชอบเล่นกีฬา อาจลองถามลูกว่าสนใจกีฬาทางด้านไหนเป็นพิเศษ หรือมีนักกีฬาคนไหนบ้างที่ลูกชื่นชอบ เพื่อหาต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกค่ะ
* บางครั้งแรงบันดาลใจอาจมาจากบุคคลใกล้ตัว ลองเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอาชีพของคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกฟัง ให้ลูกมีประสบการณ์ที่หลากหลาย
* พาเขาไปแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้เขาค้นพบสิ่งที่ชอบจริงๆ
ทั้ง 4 ส่วนล้วนมาจากการเชื่อมโยงสรรพสิ่งรอบตัว หล่อหลอมให้พี่ใหญ่วัยประถมหรือน้องเล็กวัยอนุบาลเป็นเด็กเก่งรอบด้านได้ ด้วยฝีมือของคุณพ่อคุณแม่เองค่ะ



Friday, March 12, 2010

สุข นี้..สร้างได้แต่ในบ้าน

บทความต่อไปนี้ อยากให้ทุกคนเอาไปใช้นะคะ น่ารักมากๆ สำหรับเราก้อจะเอาไปใช้ด้วย

12 วิธีสร้างสุขทำได้ง่ายจัง


1. ตื่นเช้า กอดลูก โอบภรรยา แล้วเฝ้าดูพระอาทิตย์ขึ้นด้วยกัน


2. ปลูกต้นไม้สักต้นในวันที่ลูกเกิดหรือครบรอบแต่งงาน


3. เป็นผู้ใหญ่คนแรกที่กระโดดลงสระน้ำ หรือนำเด็กๆลุยไปในทะเล

ฮีโร่ในใจลูกแท้ๆเทียว

4. อุ้มและกอด ลูกทุกครั้งที่มีโอกาส

5. บอกลูกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ว่า ชีวิตพ่อแม่มีความหมายเพียงใดที่มี

ลูกมาอยู่ด้วย

6. สร้างความสงบในบ้าน..และพยายามรักษามันไว้
7. ทิ้งโน้ต "ฉันรักเธอ" มากเพียงใด ในกระเป๋าเสื้อของสุดที่รัก ก่อนที่เขา(เธอ)

จะเดินทางไกล
8. บอกรักสมาชิกในครอบครัว ทุกครั้งที่ต้องไปค้างแรมที่อื่น

9 เป็นฝ่ายขอโทษลูกบ้าง เมื่อทำไม่ถูก ชีวิตจะมีความหมายขึ้นอีกอักโข

10. บอกพ่อของลูกว่า "วันนี้ลูกบ่นคิดถึงพ่อจังเลย"

11.เป็นลูกคู่ เมื่อใครคนใดคนหนึ่งในบ้านเริ่มร้องเพลง

12. คืนนี้นอนชมดาว แล้วอธิษฐานร่วมกัน

เราอาจขาดแคลนหลายสิ่งหลายอย่างได้ แต่อย่าขาดแคลนรอยยิ้ม

อ้อมแขนที่โอบกอด และรอยจูบ เพราะสิ่งเหล่านี้คือดวงอาทิตย์ของบ้าน

จาก: เว็บไซต์นิตยสาร Modern Mom


Wednesday, March 3, 2010

ทีวี...เทคโนโลยีทำร้ายลูกน้อย

3 ปีแรกของชีวิต เป็นช่วงเวลาทองของสมองและทักษะด้านต่างๆ ที่จะเริ่มพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าเป็นช่วงวัยที่ควรได้รับ การดูแลเอาใจใส่ไปพร้อมๆ กับส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กเติบโตมาด้วยพัฒนาการที่ดีพร้อมทุกด้าน

สิ่งสำคัญของการเรียนรู้เกิดจากการได้ลงมือทำด้วย ตัวเองค่ะ ได้หยิบจับสิ่งของ ได้คลาน ได้หัดตั้งไข่ รวมทั้งได้ฝึกออกเสียงโต้ตอบกับพ่อแม่ เมื่อมีการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม เด็กก็จะเรียนรู้และมีพัฒนาการดีขึ้น

แต่พ่อแม่ยุคใหม่ที่อยากให้ลูกฉลาดควบคู่ไปกับพัฒนาการที่ดี ได้เลือกใช้ทีวีมาเป็นสื่อเสริมทักษะความรู้ให้ลูก โดยไม่รู้เลยว่าคุณกำลังทำร้ายลูกน้อยอยู่ เพราะด้วยแสงสีเสียงจากทีวีที่สว่างและดัง ไม่เหมาะกับลูกเล็กที่กำลังปรับตัวกับโลกกว้าง

ปิดโอกาสการเล่น+ความสัมพันธ์

การเรียนรู้ของเด็ก ส่วนใหญ่ก็ผ่านการเล่นและการลงมือทำค่ะ แต่ถ้ามีทีวีมาขัดจังหวะ การเรียนรู้ของหนูๆ จะถูกปิดถึง 2 ทางด้วยกัน

1. การเล่นที่เด็กเป็นผู้ลงมือกระทำเอง เด็กเรียนรู้โลกกว้างผ่านการจ้องมอง การสำรวจรื้อค้น การหยิบจับขว้างดึง การสร้างและสมมติ การแก้ปัญหา ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลหากพ่อแม่ต้องการส่งเสริมพัฒนาการ แต่ถ้าเปิดทีวีให้เด็กดู เด็กก็จะมุ่งความสนใจไปอยู่กับทีวี จนทำให้โอกาสที่จะมาเล่นก็น้อยลง

2. ผู้ใหญ่ที่จะมาเล่นกับเด็ก การที่ผู้ใหญ่เปิดทีวีไปพร้อมๆ กับเลี้ยงเด็ก ถึงแม้จะไม่ได้สนใจจ้องมองไปที่ทีวี แต่ก็ทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันลดลง เพราะผู้ใหญ่จะหันเหความสนใจไปที่ทีวีมากกว่าเด็กๆ หรือสนใจเด็กก็ไม่เต็มที่

ทีวีจำกัดพัฒนาการทุกด้าน

ทีวีนอกจากจะไม่ส่งผลดีต่อเจ้าตัวเล็กอย่างที่ หวังแล้ว ยังส่งผลเสียต่อพัฒนาการทุกด้านของเจ้าหนู ทำให้พัฒนาการที่ควรเป็นไปตามวัยล่าช้าอย่างคาดไม่ถึงเลยล่ะค่ะ

• พัฒนาการทางร่างกาย

เด็ก ที่ถูกเลี้ยงด้วยทีวีส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน เพราะขณะดูทีวีเด็กจะเพ่งมองและไม่เคลื่อนไหวร่างกาย กล้ามเนื้อไม่ได้ขยับ เพราะพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กขวบปีแรกจะเกิดจากการได้เคลื่อนไหว และใช้มือหยิบจับสิ่งของ แต่ถ้าดูทีวีอย่างเดียว ทักษะการใช้กล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กมัดใหญ่ของลูกก็จะไม่ได้พัฒนาอย่างเต็มที่

• พัฒนาการทางสติปัญญา

เด็กพัฒนาสติปัญญาผ่านการเล่นและสัมผัสของจริง แต่การให้เด็กดูทีวีเพราะคาดหวังให้เด็กฉลาดไม่ได้ช่วยให้เด็กเข้าใจเหตุและ ผลของการกระทำค่ะ เช่น เด็กที่เล่นทรายจะได้เรียนรู้ว่าทรายแตกต่างกัน ระหว่างทรายแห้งและทรายเปียก กระบวนการนี้เด็กจะค่อยๆ เรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งสอนไม่ได้ทางทีวี

มีงานวิจัยหนึ่งพบว่าเด็กที่ดูทีวีตั้งแต่เล็กๆ มีโอกาสสมาธิสั้นมากกว่าเด็กที่ไม่ได้ดูทีวีเมื่ออายุ 7 ขวบ เพราะไม่สามารถสนใจจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานพอที่จะเรียนรู้ได้ ดังนั้น หากคุณอยากให้ลูกมีสติปัญญาที่ดี ก็ควรส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้จากการได้เล่นและลงมือทำมากกว่าการดูทีวี

สิ่ง สำคัญ คือ ควรปิดทีวีและให้ชีวิตร่วม กับลูกในการส่งเสริมพัฒนาการ ดีกว่าใช้ทีวีเป็นพี่เลี้ยง เพราะผลเสียที่เกิดกับลูกมากมายมหาศาลเลยล่ะค่ะ

ข้ิอมูลดีๆจาก รักลูก ฉบับเดือนมีนาคม 2553