Tuesday, February 23, 2010

โภชนาการในเด็ก

พ่อแม่มีความคิด กังวล และมีความเชื่อมากมายในเรื่องอาหารการกินของลูกที่เรายังไม่รู้ และไม่เข้าใจ หรือ รู้และเข้าใจอย่างผิดๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การปฏิบัติผิดๆ จนก่อให้เกิดผลเสียได้

เราเคยได้ยินได้ฟังความคิด ความเชื่ออะไรบางอย่างเกี่ยวกับอาหารการกินที่บอกต่อๆกันมา บางครั้งความเชื่อที่ว่านี้ก็ถูกบ้างผิดบ้าง เช่น กินน้ำมะพร้าวแล้วลูกจะผิวขาวสวย หรือถ้าเป็นแผลไม่ควรกินไข่ ฯลฯ แล้วความเชื่อไหน หรือคำบอกเล่าไหนที่ถูกต้องล่ะ รศ.ดร. ประไพศรี ศิริจักรวาล รองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ จากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จะช่วยไขข้อข้องใจนี้ให้กระจ่างค่ะ

ความ เชื่อที่ว่า

กินตับมากจะมีสารพิษสะสมในร่างกายมากตามไปด้วย

ความจริงแล้ว

จริงๆ แล้วตับก็ทำหน้าที่เหมือนกับโรงงานกำจัดของเสีย แต่ถ้าเรากินของเสียเข้าไปมากๆ โรงงานจะกำจัดของเสียไม่ทัน ส่งผลให้ของเสียนั้นๆ เป็นพิษต่อตับ ตรงกันข้ามถ้าของเสียนั้นๆ เข้ามาทีละน้อย ตับของเราก็สามารถกำจัดได้ทัน ดังนั้นของเสียที่ว่าจึงไม่สามารถทำอันตรายกับร่างกายเราได้

อาหารประเภทตับเป็นแหล่งรวมวิตามิน A และธาตุเหล็ก ซึ่งถ้ากินในปริมาณพอเหมาะร่างกายเด็กจะสามารถสะสมแร่ธาตุดังกล่าวได้ ซึ่งนักโภชนาการจะแนะนำให้เด็กกินตับอาทิตย์ละ 1 ครั้งและครั้งหนึ่งประมาณ 1 ช้อนโต๊ะหรือ 3 ชิ้นบางๆ ก็เพียงพอแล้ว (ตับไก่จะมีวิตามิน A ค่อนข้างสูง และเหมาะกับเด็กเล็กๆ เพราะบดง่ายสามารถคลุกไปในข้าวได้เลยค่ะ)
แต่ถ้า เด็กคนไหนมีภาวะโภชนาการดีอยู่แล้ว การกินตับ 2 อาทิตย์ครั้งหนึ่งก็นับว่าเพียงพออีกเหมือนกัน เพราะถ้ากินในปริมาณนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องสารพิษที่อาจสะสมในร่างกายของลูก

ความเชื่อที่ว่า

กินอาหารที่มีน้ำตาลมากๆ เช่น เค้ก ลูกอม ช็อกโกแลตจะทำให้ลูกเป็นโรคสมาธิสั้นได้

ความจริงแล้ว

การกินอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาล กับการเกิดภาวะสมาธิสั้นเป็นเรื่องที่ศึกษากันมานานประมาณเกือบ 20 ปีแล้ว แต่การศึกษาที่มีมาทั้งหมดจะมีทั้งเห็นผลและไม่เห็นผล และบางการศึกษาก็พบว่า ไม่มีความแตกต่างในพฤติกรรมระหว่างเด็กที่ดื่มเครื่องดื่มผสมน้ำตาล กับเด็กที่ดื่มเครื่องดื่มชนิดไม่เติมน้ำตาล

นอกจากนั้นเมื่อเร็วๆ นี้มีงานศึกษาจากมหาวิทยาลัยในอเมริกา พบว่าถ้าลดปริมาณการกินน้ำตาลในสถานกักกันลง อัตราการทะเลาะวิวาทกันในที่ดังกล่าวกลับลดลงอย่างเห็นได้ชัด จึงมีบทสรุปออกมาว่าน้ำตาลอาจจะมีผลทำให้คนก้าวร้าวมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น ตอนนี้ก็ยังไม่สามารถสรุปได้อยู่ดีว่าตกลงน้ำตาลมีผลทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิ สั้นและมีความก้าวร้าวหรือไม่

อย่างไรก็ดี โดยส่วนตัวแล้วอยากให้คุณพ่อคุณแม่หันไปสนใจเรื่องการกินน้ำตาลกับการเกิด โรคอ้วน และฟันผุเสียมากกว่า เพราะขณะนี้พบว่าเด็กไทยมีเปอร์เซ็นต์ฟันผุสูงมาก ในกลุ่มกุมารแพทย์จึงได้มีการรณรงค์เรื่อง "การลดการบริโภคน้ำตาลในเด็ก" โดยเริ่มจากนม และในเครื่องดื่มต่างๆ ก่อน เพราะการลดน้ำตาลก็เท่ากับการลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมทั้งฟันผุในเด็ก เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้ลูกลดอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาล ขออย่าคิดว่าเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้นเท่านั้น แต่อยากให้มองสุขภาพโดยรวมมากกว่าค่ะ

ความ เชื่อที่ว่า

กินซอส มะเขือเทศจิ้มกับขนมขบเคี้ยว หรืออาหารว่างจำพวกไก่ทอด มันฝรั่งทอด หรือกินซอสถั่วเหลืองปรุงรสกับอาหารกินเล่นในปริมาณมากจะเป็นอันตรายกับเด็ก ได้

ความ จริงแล้ว

ในซอส มะเขือเทศจะมีสารแคโรตินอยด์ที่ดีสำหรับสุขภาพเพราะเป็นสารต้านปฏิกิริยา อนุมูลอิสระ (สารที่ป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกโจมตี หรือถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ และชะลอภาวะการเสื่อมของเซลล์ก่อนวัยอันควร) แต่ทั้งซอสมะเขือเทศ และซอสปรุงรสจะมีส่วนผสมที่ไม่เป็นประโยชน์กับร่างกายนั่นก็คือ "โซเดียม” อยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้นถ้ากินมากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้

ตามหลักโภชนาการแล้ว วันหนึ่งๆ เราไม่ควรกินโซเดียมเกิน 2,400 มิลลิกรัม จึงขอแนะนำให้เด็กกินซอสมะเขือเทศครั้งละประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ (1 ช้อนโต๊ะจะมีโซเดียมประมาณ 100 มิลลิกรัม) หรือครั้งละไม่เกิน 1 ซองเล็กๆ เท่านั้น บางคนอาจจะมองว่าการกินซอสมะเขือเทศตามปริมาณที่แนะนำเท่ากับมีโซเดียมอยู่ ประมาณ 100 มิลลิกรัม/ 1 ช้อนโต๊ะเท่านั้น แต่อย่าลืมว่าในมื้ออาหารหนึ่งๆเรามักเติมน้ำปลา หรือเกลือ หรือซอสปรุงรสเข้าไปในอาหารด้วย และในน้ำปลาเองนั้นจะมีปริมาณโซเดียมอยู่ถึง 1,000 มิลลิกรัม/1 ช้อนโต๊ะ และซอสปรุงรสเองก็มีปริมาณโซเดียมอยู่ถึง 1,000 มิลลิกรัม/ 1 ช้อนโต๊ะเช่นเดียวกัน

ถ้าเราลองรวมปริมาณการใช้ซอสปรุงรส น้ำปลา และซอสมะเขือเทศเข้าด้วยกัน ภายในหนึ่งวันรับรองได้ว่า เราและลูกของเราจะกินโซเดียมในปริมาณที่มากเกินกว่ากำหนดมาตรฐานแน่ ซึ่งผลร้ายคงไม่ได้เกิดขึ้นแบบปุบปับหรอกนะคะ แต่จะเป็นอันตรายที่สะสมไปเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดอาจทำให้เราและลูกของเรากลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไตได้ เพราะไตต้องทำงานหนักในการขับโซเดียมออกจากร่างกายนั่นเอง

ความ เชื่อที่ว่า

น้ำ สมุนไพรที่ว่ามีประโยชน์กับสุขภาพเรา แต่สำหรับเด็กแล้วจะเป็นโทษมากกว่า

ความ จริงแล้ว

น้ำ สมุนไพร เช่น น้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำกระเจี๊ยบ ฯลฯ ล้วนมีประโยชน์ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ แต่สิ่งที่จะได้เกินมาก็คือ น้ำตาล ถ้าดื่มน้ำสมุนไพร เช่น น้ำตะไคร้ น้ำมะตูมโดยไม่ใส่ หรือใส่น้ำตาลน้อยที่สุดจะเป็นการดีมาก ไม่เช่นนั้นจะเท่ากับว่าเราหรือลูกของเรากำลังกินน้ำตาลเข้าไปแทนที่จะเป็น น้ำสมุนไพรค่ะ

อย่างเช่นน้ำสมุนไพร 1 แก้ว (ปริมาณ 200 มิลลิลิตร) จะมีน้ำตาล 20 กรัม (ประมาณ 5 ช้อนชา) ซึ่งถือว่าเยอะมาก ถ้าเผอิญลูกเราดื่มน้ำสมุนไพรที่มีน้ำตาล 20 กรัม แต่ดื่มสัก 2 แก้ว นั่นเท่ากับว่าเราให้ลูกกินน้ำตาลเข้าไปแล้ว 40 กรัม หรือน้ำตาลจำนวน 10 ช้อนชา ซึ่งที่จริงแล้ว ลูกไม่ควรกินน้ำตาลเกินวันละ 4 ช้อนชาค่ะ

สรุปว่าหากน้ำสมุนไพรนั้นมีปริมาณน้ำตาลมาก ลูกก็จะได้รับปริมาณน้ำตาลที่สูงมากด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่เป็นผลดีเลย เพราะจะทำให้เกิดทั้งโรคอ้วน โรคฟันผุ และมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว

ความ เชื่อที่ว่า

เด็ก วัย 3-6 ปีกำลังเป็นวัยเจริญเติบโต ดังนั้นเขาสามารถจะกินอาหารในปริมาณมากเท่าไหร่ก็ได้โดยไม่อ้วน

ความจริงแล้ว

ที่ บอกว่าเด็กวัยนี้กินเท่าไหร่ก็ได้โดยไม่อ้วนนั้นเห็นจะไม่จริง เพราะช่วงที่เด็กกำลังเจริญเติบโต ร่างกายเขาจะแบ่งเซลล์ค่อนข้างมาก และถ้าเกิด FAT CELL ของเขามีจำนวนมาก ต่อไปถ้าเราอยากให้เขาลดน้ำหนัก FAT CELL ของเขาก็แค่เหี่ยวตัวลง ทำให้ลูกดูผอมลง แต่ขณะเดียวกันถ้าลูกของเราเกิดกินอะไรมากๆ ขึ้นมาอีก จำนวน FAT CELL ที่เคยมีอยู่ ก็จะทำให้ลูกกลับมาอ้วนได้เร็วขึ้นค่ะ

เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรระวังลูกไม่ให้อ้วนตั้งแต่เล็กๆ เพราะการจะลดน้ำหนักให้เด็กอ้วนเป็นเรื่องที่ลำบากอยู่พอสมควร ผู้ใหญ่อย่างเราๆอาจจะลดน้ำหนักด้วยการลดปริมาณอาหารและกินผักเพิ่มขึ้น แต่สำหรับเด็กส่วนใหญ่แล้วเขาจะไม่ค่อยชอบกินผักสักเท่าไหร่นัก

เด็กวัยนี้เป็นวัยที่กำลังยืดตัวอาจมองดูเหมือนผอมไป ถ้าน้ำหนักตัวของเขาขึ้นตามเกณฑ์ คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลอยากให้ลูกอ้วนหรอกค่ะ เพียงแค่ดูแลเรื่องขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว อาหารหวาน และน้ำอัดลมไว้ให้ดี อย่าให้เขากินบ่อยและกินมาก ลูกจะได้ไม่เป็นโรคอ้วน

ในกรณีที่ลูกมีน้ำหนักอ้วนเกินอยู่แล้ว การหันมาปรุงอาหารด้วยวิธีนึ่ง ต้ม หรืออบแทนการทอดที่ใช้น้ำมันเยอะๆ ก็จะช่วยให้ลูกสามารถลดน้ำหนักได้ทีละเล็กละน้อย นอกจากนั้นควรสนับสนุนให้ลูกหันมาออกกำลังกายด้วย ซึ่งจะช่วยเผาผลาญพลังงานออกไปอีกทางหนึ่ง แถมยังเป็นการเสริมสร้างพลานามัยให้แข็งแรงด้วย

ได้รู้คำตอบจากนักโภชนาการอย่างนี้แล้ว คงช่วยไขข้อข้องใจต่างๆ ของคุณพ่อคุณแม่ที่เคยมีมา ให้ลดลงไปได้ไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ

เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย

"เด็กวัยนี้ควรกินตับอาทิตย์ละ 1 ครั้ง หรือ 2 อาทิตย์ครั้งก็พอ ก็จะได้รับปริมาณแร่ธาตุที่พอเหมาะโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการสะสมสารพิษที่ปน เปื้อนมาในตับอีกต่อไป”

"เรื่องการกินน้ำตาลกับการเกิดโรคสมาธิ สั้นยังไม่มีผลสรุปที่แน่ชัด แต่อย่างน้อย เรารู้ว่ากินน้ำตาลมากๆจะทำให้เป็นโรคฟันผุ โรคอ้วน และมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในเด็ก"

"วันหนึ่งๆ เราไม่ควรกินโซเดียมเกิน 2,400 มิลลิกรัม จึงขอแนะนำให้เด็กๆ กินซอสมะเขือเทศครั้งละประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ หรือครั้งละไม่เกิน 1 ซองเล็กๆ เท่านั้น"

Tuesday, February 2, 2010

หวัดในเด็ก

ตอนนี้ทั้งลูกสาวและลูกชายเป็นหวัดอยู่คะ ลูกสาวคนโตนี่เป็นมาเกือบเดือนแล้วแต่ยังไม่หายสักที ส่วนคนเล็กเนี่ยน่าจะเป็นเพราะสำลักน้ำนม เค้าจะมีเสียงครืดคราดในคอ แล้วก้อมีไอร่วมด้วย แม่อย่างเราก้อเป็นห่วงเป็นธรรมดาเพราะสงสารเค้า แม่ยุคใหม่ก้อต้องคนหาสาเหตุ, วิธีการดูแล และผลกระทบต่อเค้า ตามไปดูเลยคะ

ผลกระทบที่เกิดจากโรคหวัด

1.กิน ข้าวไม่ได้ ช่วงที่เด็กเป็นหวัดนอกจากร่างกายจะอ่อนแอ รู้สึกรำคาญเนื้อตัวแล้ว ยังทำให้เด็กๆ เบื่ออาหาร ผอมลง และร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง

2.ส่งผลต่อการเรียน เด็กส่วนใหญ่เมื่อเป็นหวัดและไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อาจทำให้ต้องขาดเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน

3.ทำ ให้เกิดโรคแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่เป็นโรคหวัด เพราะเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันจะต่ำลงทำให้สามารถติดโรคอื่นๆ ได้ง่าย เช่น
-หลอดลมอักเสบ มักเกิดร่วมกับหวัด ไอมีเสมหะ มีไข้ต่ำๆ ฟังที่ปอดอาจได้ยินเสียงผิดปกติ
-หูอักเสบ จะทำให้ปวดหูมาก มีไข้ ถ้าเป็นเรื้อรังจะมีหนองไหล
-โรคหวัด จะมีอาการไข้สูง น้ำมูกเหลืองข้น ปวดศีรษะตั้งแต่แรกและเป็นหวัดเกิน10 วัน
-ปอด บวม มีอาการไอ หายใจเร็ว เป็นไข้ ปวดบวมเป็นโรคที่อันตรายมากสำหรับเด็กไทยค่ะ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์ทันเวลาแล้ว อาจทำให้เสียชีวิตได้
นอกจากนี้แล้ว หวัดยังอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคไอกรน หัด และปอดบวม เด็กที่เป็นหวัดติดต่อกันนานๆ อาจมีโรคภูมิแพ้ร่วมด้วยค่ะ

แล้ว คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่า ทำไมลูกน้อยของเราจึงเป็นหวัดบ่อยๆ จนดูเหมือนว่ากลายเป็นโรคเรื้อรัง บางคนเป็นตลอดทั้งปีจนสร้างความรำคาญให้กับลูกน้อยอย่างมาก นั่นเพราะว่า...เชื้อโรคเยอะ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดมีเกือบ 200 ชนิดค่ะ เมื่อเด็กหายจากหวัดที่เกิดจากเชื้อตัวเก่า ร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทานเชื้อหวัดตัวเก่าขึ้นมา แต่ก็จะไปรับเชื้อตัวใหม่มาอีก ทำให้เป็นหวัดได้ตลอดไงคะ

ไม่มี วัคซีนป้องกัน อย่างที่รู้กันดีว่าเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดมีอยู่มากมาย ทำให้ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนตัวใดใช้ป้องกันโรคหวัดได้เลย และเชื้อโรคมากมายเหล่านี้ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาทักทายร่างกายของ เรา ทำให้เราเป็นหวัดบ่อยๆค่ะ

ดูแลไม่ถูกต้อง เมื่อลูกน้อยเป็นหวัด คุณพ่อคุณแม่หรือแม้แต่คุณครูที่โรงเรียนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นแล้วเดี๋ยวหายเองได้ ทำให้เด็กที่เป็นหวัดมักไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง เราจึงพบว่าลูกติดหวัดจากเพื่อนที่โรงเรียนเพราะคุณครูไม่แยกเด็กที่เป็น หวัด หรือลูกเป็นหวัดตลอดทั้งปีเพราะไม่มีการสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

แต่ หากพบว่าลูกหายใจเร็วผิดปกติ หรือหายใจแรง และอาการไม่ดีขึ้นหลัง 1 อาทิตย์ อาจเกิดความผิดปกติบางอย่างกับลูกน้อยค่ะ เพราะถ้ามีอาการเกิน 2 อาทิตย์ อาจเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบหรือมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ต้องรีบพาเจ้าตัวน้อยไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ

วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นหวัด

- เมื่อลูกเป็นหวัด ควรให้ยาเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้นเพราะหวัดหายเองได้ใน 10-14 วัน ถ้ามีไข้ อาจให้ยาลดไข้ Paracetamol เป็นครั้งคราว ไม่ควรให้ยาติดต่อกันหลายวัน ยาลดไข้ให้ได้ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อไข้ลดให้หยุดยาทันทีค่ะ
- เมื่อมีน้ำมูก ควรเช็ดออกหรือใช้ลูกยางดูดออก
- เมื่อไอ ควรให้ดื่มน้ำบ่อยๆ อาจให้ยาแก้ไอขับเสมหะ (Glyceryl Guaicolate) โดยต้องดูขนาดยาให้ถูกต้อง
- ไม่ควรใช้ยาเกินความจำเป็น ห้ามใช้ยากดอาการไอ ยาแก้ไอสูตรผสม ยาลดน้ำมูกหรือยาแก้แพ้ เพราะอาจทำให้ไอไม่ออก มีการอุดตันของทางเดินหายใจ นอกจากนี้การใช้ยาลดน้ำมูกบางชนิดอาจทำให้เด็กเกิดอาการใจสั่น นอนไม่หลับ อีกด้วย
- ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเพราะนอกจากไม่มีประโยชน์ในการรักษาแล้ว ยังเป็นสาเหตุทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยในโพรงจมูกเกิดการดื้อยาด้วยค่ะ
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การป้องกันโรคหวัดทำได้ไม่ยาก แต่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่ โดยการสร้างภูมิต้านทานให้ลูก ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคหวัด คือการออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ในเด็กเล็กๆ ควรฝึกให้เด็กล้างมือบ่อยๆ เพราะอาจไปสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนน้ำมูกหรือเสมหะของผู้ป่วย

หาก ลูกอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเลี้ยงที่บ้านค่ะ แต่หากจำเป็นต้องส่งไปเนิร์สเซอรี่ คุณพ่อคุณแม่ต้องดูสถานที่ที่มีคุณภาพ สะอาด ถูกสุขลักษณะ ซึ่งการให้ลูกได้เกินนมแม่อย่างเต็มที่และนานพอสมควร ก็ช่วยป้องกันโรคหวัดได้ค่ะ

Monday, February 1, 2010

มะเร็งสมองเด็ก...อันตรายแต่หายขาดได้

โรค มะเร็ง แค่ได้ยินก็นำความวิตกกังวลอย่างใหญ่หลวงมาให้กับผู้ที่ต้องเผชิญโรคนี้แล้ว ยิ่งถ้ามาเกิดในสมอง โดยเฉพาะในเด็กตัวน้อยๆ คนเป็นพ่อแม่คงหวาดวิตกจนทำอะไรไม่ถูก...

แต่ในทางการแพทย์ โรคมะเร็งในสมองของเด็กนั้น ถ้าพบและรักษาอย่างต่อเนื่อง สามารถหายขาดได้ค่ะ

รู้จัก...มะเร็งสมอง

มะเร็ง หรือเนื้องอกในสมองเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาจเกิดจากพันธุกรรมผิดปกติ หรือจากการที่แม่ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายระหว่างการตั้งครรภ์ หรือระหว่างที่แม่ตั้งครรภ์มีสุขภาพไม่ดีก็อาจส่งผลต่อลูกได้ อาจพบได้ในเด็กอายุตั้งแต่ขวบปีแรก หรือบางรายมีอาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แต่ส่วนใหญ่จะพบในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต

โดยทั่วไปมะเร็งสมองไม่มีการแบ่งระยะของโรค แต่จะแบ่งตามชนิดของก้อนเนื้อที่พบว่าเป็นก้อนเนื้องอกธรรมดา หรือเป็นก้อนเนื้อมะเร็ง

อย่าง ไรก็ตามการพบเนื้องอกในสมอง ไม่ว่าจะเป็นชนิดธรรมดาหรือมะเร็งก็เกิดความรุนแรงขึ้นได้ เนื่องจากสมองเปรียบเสมือนกล่อง เมื่อมีก้อนเนื้อใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเบียดและอัดแน่นอยู่ในสมอง ส่งผลให้สมองเกิดความดันสูงขึ้น ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ลักษณะอาการ

อาการ โดยทั่วไปคือปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดรุนแรงจนอาเจียนพุ่ง ความดันในกะโหลกสูง และอาจส่งผลต่อระบบประสาทตา ทำให้มีอาการสายตาพร่ามัว มองไม่ชัดหรือมองภาพซ้อน หากเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ควบคุมการทรงตัว จะมีอาการแขนขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก เดินโซเซ บางรายอาจมีอาการตากระตุกหรือตาเขร่วมด้วย ถ้าอาการรุนแรงจะเกิดการชักและเกร็งขึ้นได้

สำหรับในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ เนื่องจากไม่สามารถพูดบอกได้ จึงควรสังเกตอาการดังนี้ มีศีรษะโตผิดปกติ กระหม่อมตึง เนื่องจากความดันในกะโหลกศีรษะสูง มีอาการซึมผิดปกติ ไม่ดูดนม มีอาเจียนพุ่ง ส่วนใหญ่จะมีอาการรุนแรง เนื่องจากกระหม่อมยังไม่ปิด สมองยังสามารถขยายได้อยู่ ก้อนเนื้อก็จะโตได้เรื่อยๆ ทำให้แสดงอาการช้า กว่าจะพบก้อนเนื้อก็มีขนาดใหญ่แล้ว จึงทำการรักษาได้ยาก

รักษาต่อเนื่อง...โอกาสหายสูง

วิธี การรักษาโรคมะเร็งสมองในเด็กมีหลายวิธีคือการผ่าตัด การฉายแสง และยาเคมีบำบัด ถ้าเนื้องอกนั้นเป็นมะเร็งหรือเป็นชนิดที่รุนแรง ต้องทำการผ่าตัด และรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ตามอาการของโรค

ซึ่ง ถ้าเกิดในเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี สมองยังมีการพัฒนาจะพยายามหลีกเลี่ยงการฉายแสง เพราะอาจมีผลกระทบต่อสมองได้ อาจจะใช้ยาเคมีบำบัด จนกว่าจะมีอายุครบ 3 ปี จึงสามารถรักษาด้วยการฉายแสง ในเด็กเล็กบางรายอาจใช้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดก็ช่วยให้อาการดีขึ้นได้ และถ้าทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง ปฏิบัติตามแพทย์สั่ง ประมาณ 3 ใน 4 หรือ 50-75% ของผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดได้ และมีชีวิตยืนยาว

**เจ้าเนื้อร้ายงอกตรงไหนของสมอง และหากลูกเป็นมะเร็งสมองพ่อแม่จะดูแลอย่างไร? อ่านต่อได้ในนิตยสารรักลูกเดือน กุมภาพันธ์ 2553

จาก:นิตยสารรักลูก