ตอนนี้ทั้งลูกสาวและลูกชายเป็นหวัดอยู่คะ ลูกสาวคนโตนี่เป็นมาเกือบเดือนแล้วแต่ยังไม่หายสักที ส่วนคนเล็กเนี่ยน่าจะเป็นเพราะสำลักน้ำนม เค้าจะมีเสียงครืดคราดในคอ แล้วก้อมีไอร่วมด้วย แม่อย่างเราก้อเป็นห่วงเป็นธรรมดาเพราะสงสารเค้า แม่ยุคใหม่ก้อต้องคนหาสาเหตุ, วิธีการดูแล และผลกระทบต่อเค้า ตามไปดูเลยคะ
ผลกระทบที่เกิดจากโรคหวัด
1.กิน ข้าวไม่ได้ ช่วงที่เด็กเป็นหวัดนอกจากร่างกายจะอ่อนแอ รู้สึกรำคาญเนื้อตัวแล้ว ยังทำให้เด็กๆ เบื่ออาหาร ผอมลง และร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง
2.ส่งผลต่อการเรียน เด็กส่วนใหญ่เมื่อเป็นหวัดและไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อาจทำให้ต้องขาดเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน
3.ทำ ให้เกิดโรคแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่เป็นโรคหวัด เพราะเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันจะต่ำลงทำให้สามารถติดโรคอื่นๆ ได้ง่าย เช่น
-หลอดลมอักเสบ มักเกิดร่วมกับหวัด ไอมีเสมหะ มีไข้ต่ำๆ ฟังที่ปอดอาจได้ยินเสียงผิดปกติ
-หูอักเสบ จะทำให้ปวดหูมาก มีไข้ ถ้าเป็นเรื้อรังจะมีหนองไหล
-โรคหวัด จะมีอาการไข้สูง น้ำมูกเหลืองข้น ปวดศีรษะตั้งแต่แรกและเป็นหวัดเกิน10 วัน
-ปอด บวม มีอาการไอ หายใจเร็ว เป็นไข้ ปวดบวมเป็นโรคที่อันตรายมากสำหรับเด็กไทยค่ะ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์ทันเวลาแล้ว อาจทำให้เสียชีวิตได้
นอกจากนี้แล้ว หวัดยังอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคไอกรน หัด และปอดบวม เด็กที่เป็นหวัดติดต่อกันนานๆ อาจมีโรคภูมิแพ้ร่วมด้วยค่ะ
แล้ว คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่า ทำไมลูกน้อยของเราจึงเป็นหวัดบ่อยๆ จนดูเหมือนว่ากลายเป็นโรคเรื้อรัง บางคนเป็นตลอดทั้งปีจนสร้างความรำคาญให้กับลูกน้อยอย่างมาก นั่นเพราะว่า...เชื้อโรคเยอะ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดมีเกือบ 200 ชนิดค่ะ เมื่อเด็กหายจากหวัดที่เกิดจากเชื้อตัวเก่า ร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทานเชื้อหวัดตัวเก่าขึ้นมา แต่ก็จะไปรับเชื้อตัวใหม่มาอีก ทำให้เป็นหวัดได้ตลอดไงคะ
ไม่มี วัคซีนป้องกัน อย่างที่รู้กันดีว่าเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดมีอยู่มากมาย ทำให้ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนตัวใดใช้ป้องกันโรคหวัดได้เลย และเชื้อโรคมากมายเหล่านี้ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาทักทายร่างกายของ เรา ทำให้เราเป็นหวัดบ่อยๆค่ะ
ดูแลไม่ถูกต้อง เมื่อลูกน้อยเป็นหวัด คุณพ่อคุณแม่หรือแม้แต่คุณครูที่โรงเรียนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นแล้วเดี๋ยวหายเองได้ ทำให้เด็กที่เป็นหวัดมักไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง เราจึงพบว่าลูกติดหวัดจากเพื่อนที่โรงเรียนเพราะคุณครูไม่แยกเด็กที่เป็น หวัด หรือลูกเป็นหวัดตลอดทั้งปีเพราะไม่มีการสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
แต่ หากพบว่าลูกหายใจเร็วผิดปกติ หรือหายใจแรง และอาการไม่ดีขึ้นหลัง 1 อาทิตย์ อาจเกิดความผิดปกติบางอย่างกับลูกน้อยค่ะ เพราะถ้ามีอาการเกิน 2 อาทิตย์ อาจเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบหรือมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ต้องรีบพาเจ้าตัวน้อยไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ
วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นหวัด
- เมื่อลูกเป็นหวัด ควรให้ยาเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้นเพราะหวัดหายเองได้ใน 10-14 วัน ถ้ามีไข้ อาจให้ยาลดไข้ Paracetamol เป็นครั้งคราว ไม่ควรให้ยาติดต่อกันหลายวัน ยาลดไข้ให้ได้ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อไข้ลดให้หยุดยาทันทีค่ะ
- เมื่อมีน้ำมูก ควรเช็ดออกหรือใช้ลูกยางดูดออก
- เมื่อไอ ควรให้ดื่มน้ำบ่อยๆ อาจให้ยาแก้ไอขับเสมหะ (Glyceryl Guaicolate) โดยต้องดูขนาดยาให้ถูกต้อง
- ไม่ควรใช้ยาเกินความจำเป็น ห้ามใช้ยากดอาการไอ ยาแก้ไอสูตรผสม ยาลดน้ำมูกหรือยาแก้แพ้ เพราะอาจทำให้ไอไม่ออก มีการอุดตันของทางเดินหายใจ นอกจากนี้การใช้ยาลดน้ำมูกบางชนิดอาจทำให้เด็กเกิดอาการใจสั่น นอนไม่หลับ อีกด้วย
- ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเพราะนอกจากไม่มีประโยชน์ในการรักษาแล้ว ยังเป็นสาเหตุทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยในโพรงจมูกเกิดการดื้อยาด้วยค่ะ
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การป้องกันโรคหวัดทำได้ไม่ยาก แต่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่ โดยการสร้างภูมิต้านทานให้ลูก ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคหวัด คือการออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ในเด็กเล็กๆ ควรฝึกให้เด็กล้างมือบ่อยๆ เพราะอาจไปสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนน้ำมูกหรือเสมหะของผู้ป่วย
หาก ลูกอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเลี้ยงที่บ้านค่ะ แต่หากจำเป็นต้องส่งไปเนิร์สเซอรี่ คุณพ่อคุณแม่ต้องดูสถานที่ที่มีคุณภาพ สะอาด ถูกสุขลักษณะ ซึ่งการให้ลูกได้เกินนมแม่อย่างเต็มที่และนานพอสมควร ก็ช่วยป้องกันโรคหวัดได้ค่ะ
No comments:
Post a Comment