การฝึกระเบียบวินัยด้วยวิธีอื่นที่แตกต่าง
เมอร์เรย์ สเตราส์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์ ผู้ศึกษาประเด็นดังกล่าวเปิดเผยว่า "พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกเป็นเด็กฉลาด หัวไว เรียนรู้เร็ว งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การหลีกเลี่ยงการตีเด็ก และแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมด้วยแนวทางอื่นเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กฉลาดสม ใจพ่อแม่"
โดยเขาได้ทำการวัดไอคิวเด็กสองกลุ่ม กลุ่มแรกอายุระหว่าง 2 - 4 ปี กลุ่มที่สองอายุระหว่าง 5 - 9 ปี จากนั้นก็มาวัดไอคิวเด็กทั้งสองกลุ่มอีกครั้งเมื่อ 4 ปีผ่านไป
เมอร์เรย์ระบุว่า เด็กทั้งสองกลุ่มมีไอคิวเพิ่มขึ้นตามวัย แต่เด็กที่ถูกตีมีไอคิวต่ำกว่าเด็กที่ไม่ถูกตี ประมาณ 5 คะแนน
"แนวคิดนี้อาจแตกต่างจากสิ่งที่คนทั่วไปหลายคนยึดถือ แต่การที่เด็กโดนตีโดยพ่อแม่ของพวกเขาเองนั้น พบว่า กลายเป็นประสบการณ์อันเลวร้ายสำหรับเด็ก และมีผลถึงสมองของเขา ส่งผลให้เด็กมีการตอบโต้อย่างก้าวร้าวตามมา หรือเด็กอาจไประบายลงกับสิ่งอื่น" เมอร์เรย์กล่าว
ด้านอลิซาเบธ เกอร์ชอฟฟ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัสให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "การ ตีเป็นการปิดกั้นความคิดของเด็ก เป็นวิธีการที่พ่อแม่เลือกใช้ความรุนแรงเพื่อผลักดันให้ลูกอยู่ในกฎระเบียบ เมื่อเด็กเติบโตมาในสถานการณ์เช่นนั้น จะทำให้เขากลายเป็นคนที่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ แต่เขาจะไม่สามารถคิด หรือหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับตัวเองได้มากไปกว่านี้"
อย่างไรก็ดี งานวิจัยของเมอร์เรย์นั้นเป็นการศึกษาเฉพาะการลงโทษด้วยการตี หรือความรุนแรงว่ามีผลต่อไอคิวของเด็กเท่านั้น แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ยังมีอีกหลายปัจจัยให้คำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม สภาพแวดล้อม รายได้ของพ่อแม่ การเลี้ยงดู ปูมหลังของเด็ก และครอบครัวเด็ก ฯลฯ ที่สามารถส่งผลต่อพัฒนาการด้านสมองในเด็กได้
สุด ท้ายนอกจาก สื่อ ครอบครัวและสังคมจะช่วยกันดูแลอนาคตของชาติแล้ว คำถามที่ค้างคาใจก็คงต้องยิงผ่านไปถามยังฟากนักธุรกิจแห่งระบบทุนนิยม ว่าเพียงพอแล้วหรือยัง กับการสร้างความร่ำรวยให้กับตนเองผ่านสังคมอุดมความรุนแรง สังคมอุดมสารพิษ และการขาดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม ดังที่เราพบกันอยู่เนือง ๆ กับโรงงานเมินกฎหมาย ปล่อยสารพิษอันตรายออกมาทำร้ายชาวบ้านในละแวกใกล้ รวม ถึงคงต้องฝากคำถามถึงรัฐบาล กับการดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วยการเอื้อประโยชน์ต่าง ๆ นานา ว่า ณ วันนี้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนั้น ดีพอแล้วหรือไม่สำหรับการคุ้มครองประชาชนในประเทศ
No comments:
Post a Comment