Friday, September 25, 2009

New Mom

หากลูกท้องเสีย…พ่อแม่ควรทำดังนี้

โดยปกติเด็กทารกอายุ 1 สัปดาห์แรก อาจถ่ายอุจจาระได้วันละหลายครั้ง สามารถนับได้ถึง 10 ครั้งต่อวัน ให้สังเกตว่า หากอุจจาระปกติไม่มีมูกเลือด หรือเป็นน้ำ หรือลูกยังดูดนมได้ดีให้ถือว่ายังอยู่ในช่วงสังเกตอาการ

ใน กรณีที่ลูกดื่มนมแม่อยู่สามารถให้นมแม่ต่อไปได้ และให้ดื่มน้ำเพิ่มระหว่างมื้อนม แล้วรอดูอาการ 1 วัน ถ้าอาการท้องเสียไม่ดีขึ้น อุจจาระเป็นน้ำปนมูก มีไข้ กระสับกระส่าย ตาโหล กระหม่อมมีรอยบุ๋ม หายใจเร็ว ต้องรีบพบแพทย์ทันที

หากลูกสะอึก…พ่อแม่ควรทำดังนี้

พ่อแม่ควรจับให้ลูกนั่งไล่ลมหรืออุ้มลูกพาดบ่าและพาเดิน เพื่อให้นมออกจากกระเพาะอาหาร โดยเร็ว ทั้งนี้การให้ดื่มน้ำหรือดูดนมตาม อาจช่วยแก้อาการได้ระดับหนึ่ง

หากลูกอาเจียนหรือสำรอก…พ่อแม่ควรทำดังนี้

หลังให้นมควรไล่ลมให้ลูกทุกครั้ง โดยให้ลูกนอน ศีรษะสูงประมาณ 30 องศานาน 30 นาที

การอาเจียนบางครั้งอาจสำลักออกจมูกด้วย ให้อุ้มลูกนอนตะแคงศีรษะต่ำ และใช้ลูกสูบยางดูดคราบน้ำนมในปากและจมูกจนหมด หรือหยดน้ำเกลือ ( NSS ) 5 – 10 หยด ในรูจมูก เพื่อล้างเศษนมออกจากโพรงจมูก

หากอาเจียนติดต่อกันหลายครั้งใน 1 วัน หรืออาเจียนมีน้ำสีเขียวเหลือง การอาเจียนพุ่งแรงหรือมีการสำลักบ่อยถือว่าผิดปกติควรรีบพบแพทย์

หากลูกสะดือเปียกหรือมีเลือดออก…พ่อแม่ควรทำดังนี้

สะดือทารกจะหลุดเมื่ออายุ 1 – 2 สัปดาห์ ช่วงก่อนหรือหลังจากหลุดใหม่ๆ อาจมีเลือด หรือคราบน้ำเหลืองซึมออกมา

ดัง นั้นควรดูแลโดยการเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% วันละ 2 ครั้งตามปกติหรือเช็ดบ่อยขึ้นตามความเหมาะสม และเมื่อเข้าสู่อาการปกติ ไม่มีบาดแผลให้เช็ดสะดือด้วยแอลกอฮอล์ 70% กรณีสะดือบวมแดง อักเสบ เปียกแฉะ และมีกลิ่นเหม็นผิดปกติควรปรึกษาแพทย์

หากลูกท้องผูก…พ่อแม่ควรทำดังนี้

ปกติเด็กอาจไม่ต้องถ่ายอุจจาระทุกวัน อาการท้องผูกไม่ได้ดูจากความถี่ของการถ่ายแต่ดูจากความแข็งของอุจจาระ

พ่อ แม่อาจให้ดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำลูกพรุนเจือจางครั้งละ 1 – 2 ช้อนชาทุกวัน จนดูว่าถ่ายอุจจาระเป็นปกติจึงงดดื่ม ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น เช่นขณะถ่ายอุจจาระต้องเบ่งมาก อุจจาระแข็งมากมีเลือดปนควรรีบปรึกษาแพทย์

หากลูกตาแฉะ…พ่อแม่ควรทำดังนี้

ถ้าไม่มีการติดเชื้อให้ใช้สำลีสะอาดชุบน้ำอุ่นต้มสุกเช็ดตามปกติ แต่ถ้ามีขี้ตาเหลืองปนเขียวจำนวนมาก หรือบริเวณตาขาวอักเสบแดงควรรีบพาลูกไปพบแพทย์

ภาพจาก portperryrmt.com
หากลูกมีไข้ ตัวร้อน…พ่อแม่ควรทำดังนี้

พ่อแม่ควรเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น โดยเน้นเช็ดตามซอกคอ ข้อพับต่างๆ ให้บ่อยครั้งเพื่อระบายความร้อนจากร่างกายให้มากที่สุดและเช็ดจนกระทั่งตัว หายร้อนและควรให้ลูกสวมเสื้อผ้าบางที่ระบายความร้อนได้ดี ดูแลให้ลูกได้ดื่มน้ำและนมมากเพียงพอ ถ้าไข้ไม่ลด หรือมีอาการซึมไม่ยอมดูดนม ควรรีบพาไปพบแพทย์

หากลูกมีไข้ ลิ้นเป็นฝ้าขาว…พ่อแม่ควรทำดังนี้

พ่อแม่สามารถป้องกันโดยหลังดื่มนมผสมแล้ว ต้องให้ดื่มน้ำตามทุกครั้ง แต่ถ้ามันเกิดขึ้นแล้วควรแก้ไขโดยใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าอ้อมสะอาดชุบน้ำอุ่นต้ม สุกเช็ดทำความสะอาดลิ้น ถ้าเช็ดแล้วยังไม่ดีขึ้น อาจเกิดจากเชื้อราบางตัวที่ทำให้ลูกเจ็บคอ และมีอาการเบื่อนมได้ควรไปปรึกษาแพทย์

หากลูกตัวเหลือง…พ่อแม่ควรทำดังนี้

พ่อแม่ควรดูแลลูกให้ดื่มนมมากเพียงพอ และพาลูกรับแสงแดดอ่อนๆ ตอนเช้าใช้เวลาประมาณ 15 – 30 นาทีต่อวัน โดยถอดเสื้อผ้า และผ้าอ้อมออกแล้วให้นอนบนเบาะสลับนอนหงายและคว่ำ หรืออุ้มลูกไว้เพื่อให้ลูกได้รับแสงแดดส่องทั่วตัว ซึ่งถ้าอาการตัวเหลืองเพิ่มมากขึ้น หรือมีอาการซึมไม่ดูดนมร่วมด้วยต้องรีบปรึกษาแพทย์

ข้อคิดสำหรับมารดาให้นมบุตร

ถ้าแม่เต้านมคัดตึง…ควรทำดังนี้

1.ไม่เว้นระยะการให้นมลูกนานเกินไป ควรให้ดูดนมทุก 3 ชั่วโมง

2.ถ้าไม่ให้ลูกดูดนมควรบีบน้ำนมออกทุก 3 – 4 ชั่วโมง

3.การประคบเต้านมด้วยน้ำอุ่นและใช้มือนวดไปรอบๆ เต้านมจากฐานเต้านมมายังหัวนม จะช่วยให้นมไหลได้ดียิ่งขึ้น

4.ถ้าเต้านมคัดตึงมาก อาจบีบน้ำนมออกเล็กน้อยก่อนให้นม เพื่อให้ลูกอมหัวนมได้สะดวกขึ้น

5.ถ้าปวดเต้านมมาก อาจประคบเต้านมในระหว่างมื้อนมด้วยน้ำเย็นนานประมาณ 15 นาที

ถ้าแม่หัวนมแตกและเป็นแผล…ควรทำดังนี้

1.ป้องกันโดยให้ลูกอมหัวนมลึกถึงลานนม และไม่ดึงหัวนมออกจากปากลูกขณะยังดูดอยู่

2.ไม่ควรฟอกสบู่ที่หัวนม หรือใช้แอลกอฮอล์เช็ดหัวนม

3.ถ้ามีสะเก็ดแห้งที่หัวนมห้ามแกะออก ให้ใช้สำลีหรือผ้านุ่มๆ ชุบน้ำอุ่นเช็ดเบาๆ

4.ใช้น้ำนมตัวเองทาหัวนมที่แตกหลังให้นมลูก เมื่อหัวนมแห้งแล้วจึงค่อยสวมเสื้อชั้นใน ถ้าเสื้อชั้นในที่สวมเปียกชื้นควรเปลี่ยนใหม่

5.ให้ลูกเริ่มดูดข้างที่ไม่เจ็บหรือเจ็บน้อยก่อน

6.ถ้าหัวนมที่แตกเป็นแผลมีเลือดออกให้งดดูดนมข้างนั้น 1 – 2 วัน

7.ให้บีบน้ำนมข้างที่หัวนมแตกออกแล้วป้อนด้วยขวดแทนก่อน เมื่ออาการดีขึ้น จึงให้ดูดจากเต้านมได้ใหม่อีกครั้ง

น้ำนมของแม่...ควรเก็บอย่างไร

1.ให้บีบนมแม่ใส่ขวดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาไม่เกิน 24 ชั่วโมง และควรเก็บในช่องแข็งไม่เกิน 1 เดือน

2.นมผสมที่ชงแล้วยังไม่ได้ดื่ม เก็บไว้ในตู้เย็นได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

3.น้ำนมที่แช่ตู้เย็น ควรวางให้หายเย็น หรืออุ่นโดยนำขวดนมแช่ในน้ำร้อนก่อนให้ลูกดื่ม ซึ่งน้ำนมที่อุ่นแล้วดื่มไม่หมดไม่ควรเก็บไว้แล้วนำมาอุ่นให้ลูกดื่มใหม่

4.นมผงที่เปิดกระป๋องแล้ว เก็บในที่แห้งได้ไม่เกิน 1 เดือน

การฝึกระเบียบวินัยด้วยวิธีอื่นที่แตกต่าง

การฝึกระเบียบวินัยด้วยวิธีอื่นที่แตกต่าง

เมอร์เรย์ สเตราส์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์ ผู้ศึกษาประเด็นดังกล่าวเปิดเผยว่า "พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกเป็นเด็กฉลาด หัวไว เรียนรู้เร็ว งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การหลีกเลี่ยงการตีเด็ก และแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมด้วยแนวทางอื่นเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กฉลาดสม ใจพ่อแม่"


โดยเขาได้ทำการวัดไอคิวเด็กสองกลุ่ม กลุ่มแรกอายุระหว่าง 2 - 4 ปี กลุ่มที่สองอายุระหว่าง 5 - 9 ปี จากนั้นก็มาวัดไอคิวเด็กทั้งสองกลุ่มอีกครั้งเมื่อ 4 ปีผ่านไป

เมอร์เรย์ระบุว่า เด็กทั้งสองกลุ่มมีไอคิวเพิ่มขึ้นตามวัย แต่เด็กที่ถูกตีมีไอคิวต่ำกว่าเด็กที่ไม่ถูกตี ประมาณ 5 คะแนน

"แนวคิดนี้อาจแตกต่างจากสิ่งที่คนทั่วไปหลายคนยึดถือ แต่การที่เด็กโดนตีโดยพ่อแม่ของพวกเขาเองนั้น พบว่า กลายเป็นประสบการณ์อันเลวร้ายสำหรับเด็ก และมีผลถึงสมองของเขา ส่งผลให้เด็กมีการตอบโต้อย่างก้าวร้าวตามมา หรือเด็กอาจไประบายลงกับสิ่งอื่น" เมอร์เรย์กล่าว

ด้านอลิซาเบธ เกอร์ชอฟฟ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัสให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "การ ตีเป็นการปิดกั้นความคิดของเด็ก เป็นวิธีการที่พ่อแม่เลือกใช้ความรุนแรงเพื่อผลักดันให้ลูกอยู่ในกฎระเบียบ เมื่อเด็กเติบโตมาในสถานการณ์เช่นนั้น จะทำให้เขากลายเป็นคนที่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ แต่เขาจะไม่สามารถคิด หรือหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับตัวเองได้มากไปกว่านี้"

อย่างไรก็ดี งานวิจัยของเมอร์เรย์นั้นเป็นการศึกษาเฉพาะการลงโทษด้วยการตี หรือความรุนแรงว่ามีผลต่อไอคิวของเด็กเท่านั้น แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ยังมีอีกหลายปัจจัยให้คำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม สภาพแวดล้อม รายได้ของพ่อแม่ การเลี้ยงดู ปูมหลังของเด็ก และครอบครัวเด็ก ฯลฯ ที่สามารถส่งผลต่อพัฒนาการด้านสมองในเด็กได้

สุด ท้ายนอกจาก สื่อ ครอบครัวและสังคมจะช่วยกันดูแลอนาคตของชาติแล้ว คำถามที่ค้างคาใจก็คงต้องยิงผ่านไปถามยังฟากนักธุรกิจแห่งระบบทุนนิยม ว่าเพียงพอแล้วหรือยัง กับการสร้างความร่ำรวยให้กับตนเองผ่านสังคมอุดมความรุนแรง สังคมอุดมสารพิษ และการขาดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม ดังที่เราพบกันอยู่เนือง ๆ กับโรงงานเมินกฎหมาย ปล่อยสารพิษอันตรายออกมาทำร้ายชาวบ้านในละแวกใกล้ รวม ถึงคงต้องฝากคำถามถึงรัฐบาล กับการดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วยการเอื้อประโยชน์ต่าง ๆ นานา ว่า ณ วันนี้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนั้น ดีพอแล้วหรือไม่สำหรับการคุ้มครองประชาชนในประเทศ

Monday, September 14, 2009

Mother & Care


When baby open the eye to see the world, he need milk from you. Many reason that mom can't give baby milk. I have the reason but in Thai. Find information below.


ให้นมแม่แต่เจ็บหัวนม (Mother & Care)

มีหลายคนที่ให้นมแม่ไม่สำเร็จ ก็เพราะมีอุปสรรคกลางทาง อาการหัวนมแตก สาเหตุที่ทำให้คุณแม่เจ็บจนท้อ และไม่สามารถให้นมลูกได้อีก วิธีการป้องกัน และการรักษา โดยขณะที่รักษาก็ยังให้ลูกดูดนมแม่ได้ แต่ก็ต้องอาศัยความใจเย็น และความอดทนของแม่นั่นเองค่ะ

ถ้าเกิดอาการหัวนมเจ็บ แตกขึ้นมา ก่อนอื่นคุณแม่ต้องหาสาเหตุก่อนว่า แตกเพราะสาเหตุใด จะได้แก้ไขให้ถูกวิธี


หัวนมแตกเพราะ...

1. ลูกอ้าปากไม่กว้างพอ ทำให้ปากลูกอมเฉพาะหัวนม ไม่ได้อมเข้าไปถึงลานหัวนม

2. ลูกมีพังผืดใต้ลิ้น ทำให้ความสามารถในการดูดนมแม่ไม่ดีพอ เพราะลิ้นเป็นส่วนที่ช่วยไล่น้ำนมจากท่อเก็บให้ไหลออกมาตามท่อน้ำนม มาถึงหัวนม และกลืนลงคอไปในที่สุด แต่ถ้าลูกไม่สามารถใช้ลิ้นได้อย่างดี กลไกนี้จะไม่เกิด นอกจากแม่จะหัวนมแตกแล้ว ลูกก็จะได้รับน้ำนมไม่เพียงพอด้วย

3. อุ้มลูกกินนมไม่ถูกวิธี เช่น ตัวลูกไม่ได้ระดับกับการดูดนมแม่ ทำให้ลูกดูดนมแม่ผิด

4. เต้านมคัด ลานนมแข็งมากเกินไป ลูกดูดนมไม่ออก

5. ลูกถอนปากออกจากหัวนมแรงหรือไม่ถูกวิธี

6. หัวนมแห้งแตกเพราะการทำความสะอาดที่มากเกินไป

7. ใช้เครื่องปั๊มนมที่มีความแรงมากเกินไป


ป้องกันหัวนมแตก...

1. เขี่ยริมฝีปากของลูก ให้อ้าออกให้กว้างขึ้น เพื่อให้ลูกอมไปถึงลานหัวนม

2. การตัดพังผืดใต้ลิ้นตั้งแต่เล็กๆ นั้น เป็นเรื่องง่ายมากเด็กไม่ต้องดมยาสลบ ไม่ต้องงดนม และหลังผ่าตัดก็กลับบ้านได้ทันที นอกจากจะทำให้ลูกดูดนมแม่ได้แล้ว ยังเป็นการป้องกันปัญหาการพูดไม่ชัดเมื่อโตขึ้นด้วย ดังนั้น ถ้าลูกไม่ดูดนม น้ำหนักไม่ขึ้น ควรให้คุณหมอตรวจดูว่าลูกมีพังผืดใต้ลิ้นหรือไม่ด้วย

3. อุ้มลูกกินนมให้ถูกวิธี ซึ่งสังเกตจาก ลูกดูดได้สบาย แม่ก็นั่งหรือนอนให้ลูกดูดได้สบาย อาจจะหาหมอนรองตัวลูกให้ได้ระดับ และศึกษาวิธีการอุ้มลูกที่ถูกต้อง

4. บีบน้ำนมออกเล็กน้อย หรือนวดเต้านมเบาๆ ก่อนให้ลูกดูดนม เพื่อให้หัวนมนิ่มลง

5. ให้คุณแม่สอดนิ้วก้อยเข้าไปด้านล่าง ระหว่างริมฝีปากลูกกับหัวนมแม่ แล้วค่อยถอนหัวนมออก

6. การทำความสะอาดหัวนม ใช้สำลีชุบน้ำธรรมดาเช็ด ก่อนให้ลูกดูด และอาบน้ำชำระร่างกายตามปกติ ไม่จำเป็นต้องฟอกสบู่บ่อย จะทำให้หัวนมแห้งแตกได้

7. การใช้ที่ปั๊มที่มีแรงดูดมาก ทำให้หัวนมแตก และเต้านมอักเสบได้ ใช้วิธีการปั๊มด้วยมือก็ได้


วิธีแก้หัวนมแตก

1. ให้ลูกดูดข้างที่ไม่เป็นแผลก่อน ถ้าลูกไม่อิ่มค่อยให้ดูดอีกข้างที่เป็นแผล

2. ไม่จำเป็นต้องให้ลูกงดดูดนม นอกจากเจ็บจนทนไม่ไหวจริงๆ ให้บีบน้ำนมออกทุก 2-3 ชั่วโมง แล้วป้อนลูกด้วยถ้วยเล็กหรือช้อน

3. บีบน้ำนมทาบริเวณหัวนม ผึ่งลมไว้ให้แห้ง ในกรณีที่ปวดแผลมาก สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลได้

4. นวดลานหัวนมให้นิ่มก่อนให้ลูกดูดนม หรือใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ แล้วนวดเต้าเบาๆ ให้น้ำนมเริ่มไหลออกมา แล้วค่อยให้ลูกดูดต่อ จะคลายความเจ็บตึงได้

5. ถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์


วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ

• ดื่มน้ำอุ่นก่อนทำการบีบนม เพื่อให้เลือดไหลเวียนดี

• ล้างมือให้สะอาด เตรียมภาชนะหรือถุงเก็บนมให้พร้อม

• นั่งท่าที่สบายที่สุด

• ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบเต้านมสักพัก แล้วนวดเบาๆ โดยใช้ฝ่ามือข้างหนึ่งประคองเต้าด้านล่าง ปลายนิ้วอีกข้างนวดเต้าเบาๆ เป็นวงกลม จากฐานเต้าไปยังหัวนมและกระตุ้นหัวนมด้วยการใช้นิ้วดึงและคลึงหัวนม

• วางปลายนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ที่ขอบลานหัวนมหรือห่างจากหัวนมประมาณ 3 เซนติเมตร แล้วกดนิ้วเข้าด้านใน บีบ 2 นิ้วเข้าหากัน น้ำนมจะถูกคันพุ่งออกมา บีบทิ้งไปก่อนสัก 2 ครั้งก่อนทำการเก็บน้ำนม

• คลายนิ้วแล้วเริ่มทำใหม่ โดยบีบปล่อยให้เป็นจังหวะ จนน้ำนมหมด แล้วเลื่อนตำแหน่งนิ้วที่บีบไปตามขอบลานหัวนม เพื่อบีบน้ำนมออกจากกระเปราะน้ำนมด้านอื่นอย่างทั่วถึง

• อย่าบีบแรง หรือเค้นจนเกินไป จะทำให้เต้านมอักเสบได้

• เมื่อบีบเสร็จแล้วปล่อยหัวนมให้แห้ง ใส่ยกทรงให้พอดีทรง

• แต่ละครั้งควรบีบน้ำนมให้เกลี้ยงเต้า และบีบไม่เกิน 30 นาทีต่อครั้ง ถ้าลูกไม่ได้ดูดทั้งวัน ควรบีบทุก 3 ชั่วโมงเป็นการกระตุ้นการผลิตน้ำนมให้สม่ำเสมอ

Friday, September 11, 2009

How many times you ask father's question

You have to see what father did while you are young...I see it and I want to cry...I hope you like it.



สอนเด็กให้รู้จักอดทนรอ - How to teach children to give up


How to take care your children to know how to give up. Many ways that family has to be an example to show their children. Remember adult is the good example for them.


เด็กไทยหลาย คนกำลังมีปัญหา ขาดความอดทน อยากได้อะไรเร็ว ๆ หรือหากจะได้มาก็ต้องได้ดั่งใจ พอไม่เป็นไปตามต้องการก็ร้องไห้งอแง อาละวาด โวยวาย ส่วนหนึ่งอาจมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ทำให้เขาเห็นว่า ตัวเขาเองนั้นเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลทั้งปวง ยิ่งในครอบครัวที่มีลูกคนเดียว ล้อมรอบด้วยพี่ป้าน้าอาปู่ย่าตายายคอยเอาใจ ก็ยิ่งมีโอกาสให้เด็กเห็นความสำคัญของตนเองมาก่อนคนอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งคิดไปได้ว่า "เวลาของคนอื่นมีค่าน้อยกว่าเวลาของเรา" ได้

มาตรการด้านความอดทน จึงควรนำมาใช้ เพื่อฝึกให้เขาเหล่านี้โตขึ้นอย่างมีวินัย และรู้จักการ "อดทนรอ" ค่ะ โดยเริ่มจาก

1. ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

หากคุณเป็นพ่อแม่ประเภทที่ใจร้อน ต้องการความรวดเร็วในการทำสิ่งต่าง ๆ ก็อาจต้องบังคับตัวเองให้เป็นคนใจเย็น และอดทนมากขึ้น เพราะลูกจะเรียนรู้โดยดูจากพ่อแม่เป็นต้นแบบ การพาลูกไปซื้อของก็เป็นการฝึกให้เด็กเห็นถึงต้นแบบการอดทนที่ดี เพราะ เด็กจะได้เห็นว่า พ่อแม่ของเขาต้องต่อคิวซื้อสินค้า ต่อคิวจ่ายเงิน เหมือนคนอื่น ๆ ทุกคนในร้านก็ต่อคิวซื้อกันหมด ไม่มีใครแซงกัน ที่สำคัญไม่ต้องเครียดเพราะความเร่งรีบด้วย

2. ตั้งเป้าหมายในการได้มา

เหมาะสำหรับใช้ในกรณีที่มี "ของ" หรือ "บางสิ่งบางอย่าง" ที่ลูกต้องการ (ถ้ายิ่งต้องการมาก ๆ การตั้งเป้าหมายก็ยิ่งง่ายขึ้น) ในกรณีนี้พ่อแม่เพียงตั้งเป้าหมายให้ลูกทำให้บรรลุผล เช่น ทำตารางการอ่านหนังสือขึ้นมา หนังสือแต่ละเล่มก็เหมือนไอเท็มเกม 1 ชิ้น เด็กอ่านหนังสือจบ 1 เล่มก็เก็บไอเท็มได้ 1 ชิ้น ทำจนครบ แล้วจึงจะได้ของขวัญที่ต้องการ หรือจะทำตารางการช่วยงานบ้าน เช่น ล้างจาน พับผ้า ทิ้งขยะ ถูบ้าน ฯลฯ ให้ลูกได้ฝึกงานบ้าน พร้อม ๆ กับการฝึกอดทนก็ได้เช่นกัน

3. บอกช่วงเวลาการรอคอยที่ชัดเจน

การฝึกให้เด็กอดทนรอ อาจต้องเลือกใช้คำที่เหมาะสม การที่ลูกมาร้องขอบางสิ่งบางอย่างใกล้ๆ แม่ ตอนที่แม่กำลังยุ่งกับงานในบ้าน หรืองานในครัว คุณแม่หลายท่าน (ที่ยังอารมณ์ดี) อาจบอกว่า "รออีกแป๊บนึง" แต่ก็จะพบว่า อีกไม่นาน เด็ก ๆ ก็จะกลับมาใหม่พร้อมคำถามเดิม ๆ เพราะความอดทนของเขามันก็จะเกิดเพราะคำว่า "แป๊บนึง" เหมือนที่แม่บอก จนบางทีทำให้พ่อแม่หลายท่านเริ่มอารมณ์เสียที่ลูกมาถามบ่อยเกินไป ทางแก้ก็คือ กำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมไปเสียเลย เช่น "รอให้แม่เตรียมข้าวเย็นเสร็จก่อนนะ" หรือ "ให้แม่กวาดบ้านเสร็จก่อน"

4. พ่อแม่ก็ต้องทำตามเงื่อนไขด้วย

คงไม่ใช่ครอบครัวชินจัง ที่มีแม่มิซาเอะตั้งกฎมากมายกำหราบลูกจอมซนเพียงฝ่ายเดียว แต่พ่อแม่เองก็ต้องยอมรับและร่วมปฏิบัติตามกฎที่ตนตั้งเอาไว้ด้วย ผู้เขียนเคยพบพ่อแม่ลูกสามคนที่ชายทะเลแห่งหนึ่ง พ่อแม่สัญญากับลูกว่าต้องทานข้าวให้หมดก่อนแล้วจะพาไปเล่นน้ำทะเล แต่ปรากฏว่า พอทานข้าวกลางวันเสร็จ พ่อแม่ก็เลือกที่จะนอนเอนหลังสบายบนเก้าอี้ผ้าใบ ส่วนลูกชายก็งอแงไม่ได้เล่นน้ำทะเลอย่างที่ต้องการ เพราะพ่อกับแม่ที่บอกว่าจะพาเขาไปเล่นน้ำ ก็นอนหลับไปเสียแล้ว สุดท้ายเขาก็เลยต้องเล่นคนเดียวอย่างเหงา ๆ (แต่อีกใจหนึ่งผู้เขียนก็เข้าใจ เพราะทานข้าวกลางวันเสร็จพึ่งจะบ่ายโมง แดดทะเลร้อนขนาดไหน ท่านผู้อ่านคงนึกภาพออกค่ะ แต่บังเอิญว่า เขาไม่มีการทำความเข้าใจกับลูก ๆ ก่อนเท่านั้นเอง)

ดัง นั้น ก่อนที่พ่อแม่จะเอ่ยปากสัญญากับลูก ก็ขอให้แน่ใจเสียก่อนว่า สามารถทำตามที่เอ่ยปากเอาไว้ได้จริง ๆ เพราะมันจะทำให้ลูก ๆ อดทนรออย่างเข้าใจ ว่าอีกไม่นานเขาก็จะได้ในสิ่งที่เขาต้องการ

5. มีรางวัลรออยู่สำหรับเด็กอดทนรอ

หากคุณเอ่ยปากชวนลูก ๆ ให้ร่วมเดินทางไปซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า พร้อมตั้งเงื่อนไขว่า จะต้องเป็นเด็กดี ไม่งอแง หรือวิ่งเล่นหายไปให้พ่อแม่เป็นห่วง และเด็ก ๆ ก็สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ตลอดรอดฝั่ง จนกระทั่งทุกคนในครอบครัวเดินกลับจากห้างสรรพสินค้าพร้อมกันอย่างมีความสุข ก็ไม่ผิดนักหากคุณจะมีของขวัญพิเศษให้กับลูกสำหรับความพยายามอดทนครั้งสำคัญ นี้ เพราะมันจะทำให้พวกเขาได้ตื่นเต้นกันอีกรอบ (เป็นที่ทราบกันดีว่า ห้างสรรพสินค้ามีสิ่งยั่วใจเด็ก ๆ มากแค่ไหน โดยเฉพาะแผนกของเล่น) อีกทั้งยังทำให้เด็ก ๆ รู้สึกดีกับการอดทนรอ และพร้อมจะทำมันต่อไปในอนาคตด้วย

ก่อนจากกัน ผู้เขียนมีประสบการณ์หนึ่งเกี่ยวกับการอดทนรอคอยมาขอแบ่งปันกับท่านผู้อ่าน นั่นก็คือ ผู้เขียนมีโอกาสไปทานก๋วยเตี๋ยวร้านอร่อยเจ้าหนึ่ง ความที่เป็นเจ้าอร่อย จึงทำให้ร้านแห่งนี้ในตอนกลางวันคลาคล่ำไปด้วยลูกค้ามากมาย จนเป็นที่ทราบกันดีว่า ถ้าจะมาทานอาจต้องเตรียมใจ-ท้องไว้สักนิดสำหรับการรอคอย

ระหว่างที่ผู้เขียนและลูกค้าโต๊ะอื่น ๆ กำลังรอคอยก๋วยเตี๋ยวกันอย่างใจจดใจจ่อนั้น ก็ได้มีลูกค้าใหม่ 3 รายที่มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่เข้ามาร่วมวงรอคอยด้วย แต่ดูเหมือนว่าความอดทนจะมีขีดจำกัด เมื่อผู้ใหญ่รายหนึ่งที่เป็นผู้หญิงตัดสินใจว่าคงรอไม่ไหวแล้ว เธอจึงเดินไปหาเจ้าของร้านเพื่อขอให้ช่วย "ลัดคิว" ทำอาหารของโต๊ะเธอก่อนคนอื่น ๆ

เธอ กลับมาที่โต๊ะพร้อมกับบอกสมาชิกในโต๊ะว่า เพราะ "สายสัมพันธ์" จึงทำให้เธอได้มีโอกาส "แซงคิว" โต๊ะอื่น ๆ และผู้เขียนก็ได้เห็นว่า ลูกค้าทั้ง 3 ท่านนี้ ทานอาหารที่ได้มาจากการ "ลัดคิว" ด้วยความภาคภูมิใจ

จาก เรื่องที่ได้ประสบกับตัวเองนี้ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า บางครั้งหากต้องการสร้างสังคมใหม่ที่ดีขึ้นกว่าในอดีต เรื่องของการ "อดทน" คงเป็นสิ่งแรก ๆ ที่คนไทยต้องฝึก ไม่ใช่เฉพาะแค่ฝึกในครอบครัว พ่อแม่ลูกเท่านั้น แต่บางทีคงต้องจับผู้ใหญ่มาฝึกกันใหม่เลยทีเดียว

thank you Manager online