Monday, September 26, 2011

เมื่อลูกไม่สบาย



ลูกไม่สบายคะ หาข้อมูลที่ลูกเป็นแล้วเอามาเก็บไว้เผื่อจะมีประโบชน์กับพ่อแม่คนอื่นๆบ้างคะ

เมื่อลูกป่วย โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ พ่อแม่มักจะกังวลใจจนแทบจะป่วยไปกับลูก หรือ บางคนมีอาการหนักมากกว่าลูกเสียอีก เพราะไม่ทราบว่าควรจะดูแลลูกอย่างไรดี เมื่อมีอาการป่วยเกิดขึ้น ซึ่งอาการต่าง ๆ ที่เป็นและพบได้บ่อยมีดังนี้
ไข้
อาการไข้ เป็นสัญญาณของร่างกายที่บ่งบอกว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย ใช้ปรอทวัดไข้ วัดอุณหภูมิของร่างกาย ถ้าคุณพ่อคุณแม่วัดไข้ทางปากโดยให้ลูกอมปรอทไว้ใต้ลิ้น หุบปากสนิทนาน 1 นาที อ่านอุณหภูมิได้เกิน 37.8 C ถือว่ามีไข้ ถ้าวัดปรอททางรักแร้โดยหนีบปรอทแน่น 1 นาที อ่านอุณหภูมิเกิน 37.3 C ถือว่ามีไข้ หรือการวัดปรอททางทวารหนักในเด็กเล็ก เกิน 38 C จึงจะถือว่ามีไข้
สาเหตุของไข้ ดังได้กล่าวข้างต้นว่าใช้เป็นสัญญาณของความผิดปกติ ดังนั้นจึงต้องหาสาเหตุที่ทำให้ เกิดไข้ สาเหตุของไข้ที่พบได้บ่อยได้แก่
- จากโรคติดต่อ- จากการได้รับวัคซีน- จากการอักเสบ - ไข้หลังผ่าตัด- ไข้จากการขาดน้ำ อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เด็กจะตัวร้อน อาจมีหนาวสั่น ตัวแดงหน้าแดงหัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ในเด็กโตจะบอกได้ว่า ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อ อาการไข้สูงถ้าปล่อยทิ้งไว้ จะมีโอกาสชักได้ โดยเฉพาะในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ควรทำการลดไข้ให้เร็วที่สุด ดังนี้
- ให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ - อยู่ในที่มีลมถ่ายเทสะดวก หรือในห้องแอร์ที่ไม่เย็นจัด - เช็ดตัวลดไข้ โดยถอดเสื้อผ้าเด็กออกให้หมด ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็ก 2 – 3 ผืน ชุบน้ำธรรมดา สลับกันเช็ดตัวเด็กทั้งตัว โดยเน้นบริเวณซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และหลังจนกว่าไข้จะลดลง การใช้ผ้าโปะไว้เฉพาะบริเวณหน้าผาก ไม่ช่วยทำให้ ไข้ลดลง- หลังเช็ดตัวแล้ว ควรใช้ผ้าแห้งซับให้แห้ง แล้วใส่เสื้อผ้าบาง เพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนได้ดี - ถ้ามียาลดไข้ Paracetamol ให้รับประทานตามแพทย์สั่ง รับประทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ถ้ายังมีไข้
ถ้าลูกยังมีไข้สูงติดต่อกัน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรพบแพทย์
หวัด
อาการหวัด น้ำมูกไหล พบได้บ่อยในเด็ก เด็กที่อายุมากกว่า 6 เดือน จะพบได้ประมาณ 1-2 ครั้งต่อเดือน ใน 2-3 ขวบปีแรกที่ลูกเริ่มไปโรงเรียน จะเป็นหวัดได้บ่อย เนื่องจากที่โรงเรียนจะมี เด็กอยู่รวมกันมาก ทำให้ลูกติดหวัดจากเพื่อนได้ และเป็นวนเวียนกันไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็ก โตขึ้น อายุเกิน 6 ปี อาการหวัดจะลดลงเหลือเพียง 2-3 ครั้งต่อปีเท่านั้น อาการหวัดจะพบได้บ่อย เมื่อมีอากาศเปลี่ยนแปลง อากาศเย็นหรือฝนตก อาการของหวัด จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก ไอ มีไข้ ซึ่งอาการไข้มักมีอยู่ประมาณ 3 วัน ไม่เกิน 1 สัปดาห์ แต่อาการไออาจนานถึง 2-3 สัปดาห์ได้
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส
การดูแลรักษา เชื้อไวรัสหวัดเป็นเชื้อที่ยังไม่มียารักษา ดังนั้นการรักษาหวัด จึงเป็นการรักษาตามอาการ โดยที่ถ้ามีไข้ จะให้ยาลดไข้ เช็ดตัว ถ้ามีน้ำมูกมากให้ยาลดน้ำมูก ดื่มน้ำบ่อย ๆ พักผ่อนมาก ๆ ถ้าไอให้ยาละลายเสมหะ ดื่มน้ำอุ่น จะช่วยให้อาการหวัดดีขึ้น
เวลาลูกมีน้ำมูกไหล ไอจะดูแลอย่างไร
- ในเด็กเล็ก น้อยกว่า 6 เดือน ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกในจมูก ดูดเสมหะในคอ ก่อนมื้อนม หรือใช้ผ้านิ่มพันปลายแหลม ซับน้ำมูกในรูจมูก ไม่ควรใช้ยาลดน้ำมูก เพราะจะทำให้เสมหะแห้งเหนียว เด็กไอไม่ออกได้ - ในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ถ้ามีน้ำมูกมากสามารถให้ยาลดน้ำมูกได้ ให้ยาละลายเสมหะเมื่อไอ- ถ้าแน่น คัดจมูก ใช้ยาหยอดจมูกได้ แต่ไม่ควรหยอดติดต่อกันนานเกิน 4-5 วัน - ในเด็กโต ให้สั่งน้ำมูกเบา ๆ ถ้าลูกเป็นหลายวันแล้ว ยังมีน้ำมูกมาก เป็นยวงเขียว แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย แทรกซ้อน ควรพามาพบแพทย์เพื่อให้ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าน้ำมูกเริ่มแห้ง และเป็นสีเขียว แสดงว่ากำลัง หายจากหวัด ไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้ ได้แก่
- หูน้ำหนวก เด็กจะมีไข้สูง ปวดหู มีหนองไหลจากหู - ไซนัสอักเสบ จะมีไข้ ปวดบริเวณหน้าผาก จมูก แก้ม น้ำมูกเขียวจำนวนมาก และมีกลิ่นเหม็น - หลอดลมอักเสบ จะไอมาก หายใจแรง- ปอดบวม จะมีไข้สูง ไอมาก หอบหายใจเร็วและแรง
เมื่อมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์
อาเจียน
เมื่อลูกอาเจียน คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตุลักษณะอาเจียนที่ออกมา ว่าเป็นเศษอาหาร เสมหะ สีอะไร อาเจียนแบบพุ่งหรือไม่พุ่ง เนื่องจากลักษณะอาเจียนต่าง ๆ จะช่วยในการวินิจฉัยโรคได้
อาเจียนเกิดจากอะไร สาเหตุของอาเจียนมีได้ ดังนี้
- จากสมอง มักมีอาเจียนพุ่ง- จากทางเดินอาหาร เช่น การอุดตันของกระเพาะ ลำไส้ หรือมีการอักเสบ ของทางเดินอาหาร- สาเหตุทางกายอื่น ๆ เช่น ไข้สูง ไซนัสอักเสบ คออักเสบ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ - สาเหตุอื่น เช่น รับประทานอาหารมากเกินไป
เมื่ออาเจียนออกมาแล้วมักจะสะบายขึ้น เมื่อลูกอาเจียนจึงควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษาต่อไป
ถ้าลูกอาเจียนจะดูแลอย่างไร
- ควรให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย โดยให้ทีละน้อย บ่อย ๆ - ให้น้ำเกลือแร่ ORS เพื่อทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปกับอาเจียน โดยให้จิบทีละน้อยและบ่อย ๆ - ให้ยาแก้อาเจียนตามแพทย์สั่ง ควรให้รับประทาน 1/2 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร
เมื่อมีอาเจียนมาก รับประทานอาหารหรือน้ำไม่ได้เลย ซึมลง มีอาการขาดน้ำ กระหม่อมบุ๋ม ปากแห้งมาก ตาโหล ผิวหนังเหี่ยว แพทย์จะพิจารณาให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด และรักษาสาเหตุต่อไป